วันนี้ (17 เม.ย.) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามความพร้อมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ พร้อมขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้เร่งดำเนินการเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลสนาม เบื้องต้น ขยายโรงพยาบาลสนาม และHospitel ทั้งในส่วนกลาง ต่างจังหวัด และส่วนท้องถิ่นไปกว่า 2.5 หมื่นเตียง เพื่อให้การดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีอาการไม่มาก
สำหรับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูง เช่น กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมโรงพยาบาลสนามไว้ 4 แห่ง สามารถให้บริการได้ 1,250 เตียง และจะเพิ่มอีก 500 เตียงในเร็วๆ นี้ ขณะที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมในทุกจังหวัด และประสานงานโดยทันทีกับทางจังหวัด สาธารณสุขในพื้นที่ และดำเนินการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
เบื้องต้น สามารถให้บริการได้ 12,822 เตียง จากโรงพยาบาลสนาม 37 แห่ง ทั่วทุกภาค ซึ่งในส่วนกระทรวงกลาโหม กำลังเร่งสนับสนุนและดำเนินการจัดเตรียมความพร้อม โรงพยาบาลสนาม กว่า 5,000 เตียง ทั้งไนพื้นที่ กทม. และปริมณทล รวมทั้งในส่วนภูมิภาค เพื่อส่งมอบให้ สาธารณสุขบริหารจัดการในภาพรวมต่อไป
ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขยังจัดหาโรงแรมที่ไม่มีผู้พักอาศัยมาทำเป็นโรงพยาบาลชั่วคราว (Hospitel) เพื่อใช้ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแพทย์ พยาบาล เครื่องมือที่สำคัญ เช่น ปรอทวัดอุณหภูมิดิจิทัล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ โดยการดูแลจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะส่งไปรักษาในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มที่ 2 กลุ่มมีอาการที่อยู่โรงพยาบาล 3-5 วัน หากอาการไม่แย่ลงหรืออาการปกติ สามารถย้ายมาอยู่ที่ Hospitel ต่อไป
สำหรับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูง เช่น กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมโรงพยาบาลสนามไว้ 4 แห่ง สามารถให้บริการได้ 1,250 เตียง และจะเพิ่มอีก 500 เตียงในเร็วๆ นี้ ขณะที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมในทุกจังหวัด และประสานงานโดยทันทีกับทางจังหวัด สาธารณสุขในพื้นที่ และดำเนินการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
เบื้องต้น สามารถให้บริการได้ 12,822 เตียง จากโรงพยาบาลสนาม 37 แห่ง ทั่วทุกภาค ซึ่งในส่วนกระทรวงกลาโหม กำลังเร่งสนับสนุนและดำเนินการจัดเตรียมความพร้อม โรงพยาบาลสนาม กว่า 5,000 เตียง ทั้งไนพื้นที่ กทม. และปริมณทล รวมทั้งในส่วนภูมิภาค เพื่อส่งมอบให้ สาธารณสุขบริหารจัดการในภาพรวมต่อไป
ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขยังจัดหาโรงแรมที่ไม่มีผู้พักอาศัยมาทำเป็นโรงพยาบาลชั่วคราว (Hospitel) เพื่อใช้ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแพทย์ พยาบาล เครื่องมือที่สำคัญ เช่น ปรอทวัดอุณหภูมิดิจิทัล เครื่องวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ โดยการดูแลจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะส่งไปรักษาในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มที่ 2 กลุ่มมีอาการที่อยู่โรงพยาบาล 3-5 วัน หากอาการไม่แย่ลงหรืออาการปกติ สามารถย้ายมาอยู่ที่ Hospitel ต่อไป