รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความหลังจากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) มีมติคงกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์คงเดิม โดยยังไม่มีการประกาศพื้นที่สีแดง โดยเห็นว่าสิ่งที่หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในแต่ละจังหวัดจะทำได้ เพื่อปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคคือ ตัดสินใจประกาศงดกิจกรรมงานประเพณี และกิจกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ ในพื้นที่ของตนเอง และรณรงค์ให้สรงน้ำพระที่บ้าน
ขณะเดียวกัน ต้องร่วมแรงร่วมใจกันคัดกรองคนเดินทางเข้าพื้นที่ และช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติ หากมีใครไม่สบาย ให้รีบนำเข้าสู่ระบบตรวจและรักษา และทำทะเบียนประวัติและรายละเอียดการติดต่อของคนเดินทางเข้าออกพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้ในการตรวจสอบหรือติดตามเวลาเกิดปัญหาในภายหลัง
นอกจากนี้ ต้องจัดระเบียบ และเฝ้าระวังสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง งานแต่ง งานศพ งานบวช งานวัด การจัดกิจกรรมกลุ่มในสถานที่ต่างๆ ขนส่งสาธารณะ โรงงาน โรงหนัง โรงพยาบาล
"7 เมษายน 2564
ล่าสุดไม่ระบุพื้นที่สีแดงแล้ว
หากวิเคราะห์คงเพื่อต้องการป้องกันผลกระทบและความสับสนอลหม่านจากมาตรการที่แต่ละจังหวัดมีการประกาศจะให้คนจาก 5 จังหวัดสีแดงกักตัว 14 วัน
ดังนั้นสิ่งที่หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในแต่ละจังหวัดจะทำได้ เพื่อปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคคือ
1. ตัดสินใจประกาศงดกิจกรรมงานประเพณี และกิจกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ ในพื้นที่ของตนเอง และรณรงค์ให้สรงน้ำพระที่บ้าน
2. ร่วมแรงร่วมใจกันคัดกรองคนเดินทางเข้าพื้นที่ และช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติ หากมีใครไม่สบาย ให้รีบนำเข้าสู่ระบบตรวจและรักษา และทำทะเบียนประวัติและรายละเอียดการติดต่อของคนเดินทางเข้าออกพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้ในการตรวจสอบหรือติดตามเวลาเกิดปัญหาในภายหลัง
3. จัดระเบียบ และเฝ้าระวังสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง งานแต่ง งานศพ งานบวช งานวัด การจัดกิจกรรมกลุ่มในสถานที่ต่างๆ ขนส่งสาธารณะ โรงงาน โรงหนัง โรงพยาบาล
หากมองแบบ Bird's eye view เราก็คงพอจะเข้าใจได้ว่า เรื่องที่เราเห็นนี้เป็นเรื่องความไม่สอดคล้องระดับนโยบายระหว่างส่วนกลางและระดับพื้นที่ ซึ่งก็น่าเห็นใจ เพราะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องแนวคิด การรับรู้ และกลไกปฏิบัติ
วิธีจัดการปัญหานี้ ซึ่งแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือพยายามจะยุติการระบาดให้ได้ ก็คงมีทางเลือกคือ จัดการเค้า จัดการเรา หรือทั้งเขาาและเรา
ดังนั้นพอเราเห็นว่าอาจเกิดความอลหม่านขึ้น หากต่างคนต่างจะออกประกาศเพื่อจัดการเค้า สิ่งที่เป็นทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมคือ มาช่วยกันจัดการพื้นที่ของเรา ในสิ่งที่เราแต่ละคนในพื้นที่สามารถทำได้ ก็น่าจะดีครับ
อย่างน้อยก็จะกลายเป็นวิธีแบบ universal precaution ที่สามารถป้องกันได้อย่างครอบคลุม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
ขณะเดียวกัน ต้องร่วมแรงร่วมใจกันคัดกรองคนเดินทางเข้าพื้นที่ และช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติ หากมีใครไม่สบาย ให้รีบนำเข้าสู่ระบบตรวจและรักษา และทำทะเบียนประวัติและรายละเอียดการติดต่อของคนเดินทางเข้าออกพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้ในการตรวจสอบหรือติดตามเวลาเกิดปัญหาในภายหลัง
นอกจากนี้ ต้องจัดระเบียบ และเฝ้าระวังสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง งานแต่ง งานศพ งานบวช งานวัด การจัดกิจกรรมกลุ่มในสถานที่ต่างๆ ขนส่งสาธารณะ โรงงาน โรงหนัง โรงพยาบาล
"7 เมษายน 2564
ล่าสุดไม่ระบุพื้นที่สีแดงแล้ว
หากวิเคราะห์คงเพื่อต้องการป้องกันผลกระทบและความสับสนอลหม่านจากมาตรการที่แต่ละจังหวัดมีการประกาศจะให้คนจาก 5 จังหวัดสีแดงกักตัว 14 วัน
ดังนั้นสิ่งที่หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในแต่ละจังหวัดจะทำได้ เพื่อปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคคือ
1. ตัดสินใจประกาศงดกิจกรรมงานประเพณี และกิจกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ ในพื้นที่ของตนเอง และรณรงค์ให้สรงน้ำพระที่บ้าน
2. ร่วมแรงร่วมใจกันคัดกรองคนเดินทางเข้าพื้นที่ และช่วยกันสังเกตอาการผิดปกติ หากมีใครไม่สบาย ให้รีบนำเข้าสู่ระบบตรวจและรักษา และทำทะเบียนประวัติและรายละเอียดการติดต่อของคนเดินทางเข้าออกพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้ในการตรวจสอบหรือติดตามเวลาเกิดปัญหาในภายหลัง
3. จัดระเบียบ และเฝ้าระวังสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง งานแต่ง งานศพ งานบวช งานวัด การจัดกิจกรรมกลุ่มในสถานที่ต่างๆ ขนส่งสาธารณะ โรงงาน โรงหนัง โรงพยาบาล
หากมองแบบ Bird's eye view เราก็คงพอจะเข้าใจได้ว่า เรื่องที่เราเห็นนี้เป็นเรื่องความไม่สอดคล้องระดับนโยบายระหว่างส่วนกลางและระดับพื้นที่ ซึ่งก็น่าเห็นใจ เพราะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องแนวคิด การรับรู้ และกลไกปฏิบัติ
วิธีจัดการปัญหานี้ ซึ่งแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกันคือพยายามจะยุติการระบาดให้ได้ ก็คงมีทางเลือกคือ จัดการเค้า จัดการเรา หรือทั้งเขาาและเรา
ดังนั้นพอเราเห็นว่าอาจเกิดความอลหม่านขึ้น หากต่างคนต่างจะออกประกาศเพื่อจัดการเค้า สิ่งที่เป็นทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมคือ มาช่วยกันจัดการพื้นที่ของเรา ในสิ่งที่เราแต่ละคนในพื้นที่สามารถทำได้ ก็น่าจะดีครับ
อย่างน้อยก็จะกลายเป็นวิธีแบบ universal precaution ที่สามารถป้องกันได้อย่างครอบคลุม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น