ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ชี้แจงว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าเสียหาย 1 ล้านบาทต่อต้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การไฟฟ้านครหลวง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน
จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าผู้ที่ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1 ล้านบาท ต่อต้นนั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงว่า กรณีเกิดเหตุกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป โดยต้องประเมิน ค่าเสียหายทรัพย์สิน เสาไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่สามารถระบุจำนวนค่าเสียหายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ราคาค่าเสาไฟฟ้าจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละแบบ โดยราคาต่อต้น เริ่มที่ 3,232.68 ถึง 42,046.24 บาท ซึ่งราคานี้เป็นราคาที่ได้จากระบบ ERP ที่ได้รวมค่าเผื่อขาด และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และหากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ 3 การไฟฟ้า หรือติดต่อผ่าน MEA Call Center โทร. 1130 หรือ PEA Call Center 1129 หรือศูนย์บริการข้อมูล กฟผ. โทร. 1416 ตลอด 24 ชั่วโมง
บทสรุปของเรื่องนี้ คือ : กรณีเกิดเหตุกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง จะพิจารณาเป็นกรณี จึงไม่สามารถระบุจำนวนค่าเสียหายได้อย่างชัดเจน โดยราคาต่อต้น เริ่มที่ 3,232.68 ถึง 42,046.24 บาท
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การไฟฟ้านครหลวง
จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าผู้ที่ขับรถชนเสาไฟฟ้า ต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1 ล้านบาท ต่อต้นนั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงว่า กรณีเกิดเหตุกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป โดยต้องประเมิน ค่าเสียหายทรัพย์สิน เสาไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่สามารถระบุจำนวนค่าเสียหายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ราคาค่าเสาไฟฟ้าจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละแบบ โดยราคาต่อต้น เริ่มที่ 3,232.68 ถึง 42,046.24 บาท ซึ่งราคานี้เป็นราคาที่ได้จากระบบ ERP ที่ได้รวมค่าเผื่อขาด และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และหากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการขอคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของ 3 การไฟฟ้า หรือติดต่อผ่าน MEA Call Center โทร. 1130 หรือ PEA Call Center 1129 หรือศูนย์บริการข้อมูล กฟผ. โทร. 1416 ตลอด 24 ชั่วโมง
บทสรุปของเรื่องนี้ คือ : กรณีเกิดเหตุกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง จะพิจารณาเป็นกรณี จึงไม่สามารถระบุจำนวนค่าเสียหายได้อย่างชัดเจน โดยราคาต่อต้น เริ่มที่ 3,232.68 ถึง 42,046.24 บาท
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การไฟฟ้านครหลวง