น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เพื่อช่วยให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ และเป็นการสร้างวินัยการออมของประชาชนวัยทำงาน โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.กองทุนฯ กำหนดเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบ ทั้งลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวของราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
ทั้งนี้ ในรายละเอียดกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและไม่เกิน 60 ปี ที่ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องเป็นสมาชิกของ กบช. โดยกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบแต่ละฝ่าย แบ่งเป็น ปีที่ 1-3 ไม่น้อยกว่า 3% ของค่าจ้าง ปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่า 5% ของค่าจ้าง ปีที่ 7-9 ไม่น้อยกว่า 7% ของค่าจ้าง และปีที่ 10 เป็นต้นไป ไม่น้อยกว่า 7-10% ของค่าจ้าง โดยกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน กรณีลูกจ้างเงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ให้นายจ้างส่งเงินฝ่ายเดียว หากลูกจ้างและนายจ้างต้องการส่งเพิ่ม สามารถส่งเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง โดยไม่จำกัดเพดานค่าจ้าง
ทั้งนี้ ในรายละเอียดกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและไม่เกิน 60 ปี ที่ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องเป็นสมาชิกของ กบช. โดยกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบแต่ละฝ่าย แบ่งเป็น ปีที่ 1-3 ไม่น้อยกว่า 3% ของค่าจ้าง ปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่า 5% ของค่าจ้าง ปีที่ 7-9 ไม่น้อยกว่า 7% ของค่าจ้าง และปีที่ 10 เป็นต้นไป ไม่น้อยกว่า 7-10% ของค่าจ้าง โดยกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน กรณีลูกจ้างเงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ให้นายจ้างส่งเงินฝ่ายเดียว หากลูกจ้างและนายจ้างต้องการส่งเพิ่ม สามารถส่งเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง โดยไม่จำกัดเพดานค่าจ้าง