นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณี ผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ระบุว่า มีประชาชน 65.94% เครียด กังวลสถานการณ์ตกงาน โดยประชาชนเห็นว่าตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 ต้องใช้จ่ายเรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เงินเก็บน้อยลง และเป็นหนี้มากขึ้น
อธิการบดีหอการค้าไทย ระบุว่า วิเคราะห์ผลสำรวจออกเป็น 2 ส่วน คือในแง่ข้อเท็จจริง สถานการณ์การการจ้างงานในประเทศ อาจไม่ได้มีคนตกงานจำนวนมาก โดยจากตัวเลขเศรษฐกิจของหลายสำนัก พบว่าปัจจุบันไทยมีตัวเลขการตกงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7-1.8 หรือประมาณ 750,000-800,000 คน ของการจ้างงานทั้งหมดที่มี 38 ล้านคน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าไม่ได้มากจนน่าตกใจ
ส่วนประเด็นที่ 2 ที่เกี่ยวกับความกังวลว่าจะตกงานของประชาชน ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ แม้แรงงานจะยังมีงานทำ ตัวอย่างเช่น ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคการจ้างงานที่สำคัญของแรงงาน ผลกระทบที่เกิดจากการล็อกดาวน์ ตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ระลอกแรก จนถึงระลอกใหม่ ที่มหาชัย แม้แรงงานยังไม่ถึงกับตกงาน แต่การที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามา ก็ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดเงินเดือนพนักงาน ให้แรงงานพักหยุดงานชั่วคราวอยู่กับบ้าน ประเด็นเหล่านี้ทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าในระยะต่อไปสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นอย่างไร และเมื่อไร ซึ่งประเด็นเหล่านี้รัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้เกิดความชัดเจน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้เร็ว
สิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว คือ ความจำเป็นที่ต้องทำให้เกิดการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ ที่ต้องกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง ท่องเที่ยว รวมไปถึงโรดแมปที่จะมีการเปิดประเทศ ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไตรมาสที่ 4 รวมถึงมาตรการสนับสนุนอื่น เช่น การท่องเที่ยวเดินทางในกลางสัปดาห์ หรือการสนับสนุนให้หน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจมีการจัดประชุมสัมมนานอกสถานที่ในต่างจัดหวัด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนสะพัดโดยเร็ว
อธิการบดีหอการค้าไทย ระบุว่า วิเคราะห์ผลสำรวจออกเป็น 2 ส่วน คือในแง่ข้อเท็จจริง สถานการณ์การการจ้างงานในประเทศ อาจไม่ได้มีคนตกงานจำนวนมาก โดยจากตัวเลขเศรษฐกิจของหลายสำนัก พบว่าปัจจุบันไทยมีตัวเลขการตกงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7-1.8 หรือประมาณ 750,000-800,000 คน ของการจ้างงานทั้งหมดที่มี 38 ล้านคน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือว่าไม่ได้มากจนน่าตกใจ
ส่วนประเด็นที่ 2 ที่เกี่ยวกับความกังวลว่าจะตกงานของประชาชน ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ แม้แรงงานจะยังมีงานทำ ตัวอย่างเช่น ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคการจ้างงานที่สำคัญของแรงงาน ผลกระทบที่เกิดจากการล็อกดาวน์ ตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ระลอกแรก จนถึงระลอกใหม่ ที่มหาชัย แม้แรงงานยังไม่ถึงกับตกงาน แต่การที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามา ก็ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดเงินเดือนพนักงาน ให้แรงงานพักหยุดงานชั่วคราวอยู่กับบ้าน ประเด็นเหล่านี้ทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าในระยะต่อไปสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นอย่างไร และเมื่อไร ซึ่งประเด็นเหล่านี้รัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้เกิดความชัดเจน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นให้เร็ว
สิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว คือ ความจำเป็นที่ต้องทำให้เกิดการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ ที่ต้องกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง ท่องเที่ยว รวมไปถึงโรดแมปที่จะมีการเปิดประเทศ ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไตรมาสที่ 4 รวมถึงมาตรการสนับสนุนอื่น เช่น การท่องเที่ยวเดินทางในกลางสัปดาห์ หรือการสนับสนุนให้หน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจมีการจัดประชุมสัมมนานอกสถานที่ในต่างจัดหวัด เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนสะพัดโดยเร็ว