เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานศาลปกครอง นายภูมภัสส์ หิรัญวีวิชญ์ นร.ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รร.สารวิทยา กับ น.ส.พรปวีณ์ พรทิพพิสุทธิ์ นร.ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รร.พระมารดานิจจานุเคราะห์ และกลุ่มนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวม 6 คน พร้อมด้วย ผศ.ดร.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรค และนายวัฒนา เตียงกูล ทนายฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายื่นฟ้องกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ประชุมใหญ่อธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กรณีร่วมกันออกประกาศยืนยันให้มีการสอบรายวิชาที่ใช้ในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) ประจำปี 2564 ตามกำหนดการเดิม ในวันที่ 27 และ 29 มี.ค.นี้ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านการเตรียมความพร้อมของเด็กนักเรียนและการระบาดของโควิด-19 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน สั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยให้มีการชะลอการสอบ TCAS ออกไปก่อน 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากที่มีการสอบปลายภาคของนักเรียน ม.6 เสร็จสิ้นแล้ว
น.ส.พรปวีณ์ พรทิพพิสุทธิ์ หนึ่งในผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า ระบบการสอบคัดเลือกกลาง เพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้น ม.6 นั้น ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะเข้าสอบต้องเป็นผู้ที่อยู่ในชั้นเรียนจนจบการศึกษาชั้น ม.6 แต่เนื่องจากเมื่อปลายปี 2563 ถึงปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ต้องมีการปิดเรียนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน ทำให้โรงเรียนต่างๆ ต้องเลื่อนการสอบปลายภาคประจำปีการศึกษา 2563 ออกไป ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดสอบ TCAS จึงควรเลื่อนการกำหนดการสอบที่กำหนดไว้ตั้งแต่ 30 ก.ค. 2563 ออกไปก่อน เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.6 ได้สอบเสร็จ และจบการศึกษาก่อน หลังจากนั้นเข้าสอบ TCAS ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา จะมีการกำหนดช่วงเวลาการสอบ TCAS ห่างจากการสอบปลายภาคของนักเรียนชั้น ม.6 ประมาณ 2 สัปดาห์ การที่ไม่มีการเลื่อนสอบทำให้การสอบปลายภาคของนักเรียนและการสอบ TCAS ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายวัน และบางโรงเรียนต้องมีการเริ่มสอบ TCAS ก่อนที่เด็กจะสอบปลายภาค กลุ่มตนเองจึงเห็นว่า การไม่เลื่อนสอบออกไป และให้มีการสอบตามกำหนดการเดิมเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ และยังส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่ต้องมีภาระในการสอบติดต่อกันหลายวัน ซึ่งตนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ร่วมกันยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในครั้งนี้
นายภูมภัสส์ กล่าวว่า จากที่พวกเรารวบรวมข้อมูลพบว่า มีโรงเรียนกว่า 150 แห่ง ที่มีการจัดสอบปลายภาคชนกับตารางสอบ TCAS ทำให้พวกเราต้องมาร้องศาลในวันนี้ เพราะการที่เรายังไม่ได้สอบปลายภาค จบชั้น ม.6 แล้วต้องไปสอบ TCAS ทำให้พวกเราได้รับผลกระทบไปหมด ที่ผ่านมา พวกเรากลุ่มนักเรียนได้พยายามเสนอตารางสอบ TCAS ใหม่ ที่ไม่ส่งผลกระทบกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อ ศธ. ทปอ. สทศ. แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ ผศ.ดร.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูจากตารางสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี 2564 พบว่ามีการจัดสอบติดต่อกัน มากกว่า 30 วิชา ในช่วงเวลา 22 วัน ทั้งการสอบ GAT PAT ONET TCAS และ 9 วิชาสามัญ ในระหว่างนั้นยังมีการสอบโควตาเข้าสาขาวิชาแพทย์ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระดับภูมิภาคอย่างภาคอีสานยังมีการสอบสมรรถนะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้นเดือนเมษายนยังมีการสอบวิชาเฉพาะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นตัน ในระหว่างนั้นโรงเรียนบางแห่งยังมีการจัดสอบปลายภาคด้วยนอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบทั้งหมดยังมีความบกพร่องในการบริหารจัดการ ไม่มีการประกาศมาตรการป้องกันโรคอย่างชัดเจน ไม่แสดงตัวอย่างการป้องกันโรคเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เด็กนักเรียนได้เตรียมพร้อมก่อน ซึ่งการที่ ทปอ.ออกมาแจงถึงการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่าปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. ส่วน สทศ.ประกาศมาตรการป้องกันไว้ในเว็บไซต์ของ สทศ. ไม่ตอบโจทย์และขาดความรู้ความเข้าใจในมุมของผู้เข้าสอบ ซึ่งตนเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงและทำความเข้าใจกับมาตรการการป้องกันในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และต้องแจ้งกำหนดเวลาในแต่ละมาตรการ เพราะผู้เข้าสอบจะรู้เพียงตารางสอบวิชาแรก คือ GAT ซึ่งเริ่มสอบตั้งแต่เวลา 08.30 น. แต่ไม่รู้ในรายละเอียดว่าจะต้องเข้าไปถึงสนามสอบก่อนเวลามากน้อยเพียงใด และมาตรการป้องกันโรคดำเนินการในส่วนใดของสนามสอบ ทั้งหมดถือเป็นการผลักภาระให้ผู้เข้าสอบไปเผชิญสถานการณ์หน้างานด้วยตัวเอง โดยขาดความรับผิดชอบของผู้ใหญ่
น.ส.พรปวีณ์ พรทิพพิสุทธิ์ หนึ่งในผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า ระบบการสอบคัดเลือกกลาง เพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้น ม.6 นั้น ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะเข้าสอบต้องเป็นผู้ที่อยู่ในชั้นเรียนจนจบการศึกษาชั้น ม.6 แต่เนื่องจากเมื่อปลายปี 2563 ถึงปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ต้องมีการปิดเรียนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือน ทำให้โรงเรียนต่างๆ ต้องเลื่อนการสอบปลายภาคประจำปีการศึกษา 2563 ออกไป ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดสอบ TCAS จึงควรเลื่อนการกำหนดการสอบที่กำหนดไว้ตั้งแต่ 30 ก.ค. 2563 ออกไปก่อน เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.6 ได้สอบเสร็จ และจบการศึกษาก่อน หลังจากนั้นเข้าสอบ TCAS ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา จะมีการกำหนดช่วงเวลาการสอบ TCAS ห่างจากการสอบปลายภาคของนักเรียนชั้น ม.6 ประมาณ 2 สัปดาห์ การที่ไม่มีการเลื่อนสอบทำให้การสอบปลายภาคของนักเรียนและการสอบ TCAS ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายวัน และบางโรงเรียนต้องมีการเริ่มสอบ TCAS ก่อนที่เด็กจะสอบปลายภาค กลุ่มตนเองจึงเห็นว่า การไม่เลื่อนสอบออกไป และให้มีการสอบตามกำหนดการเดิมเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ และยังส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่ต้องมีภาระในการสอบติดต่อกันหลายวัน ซึ่งตนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ร่วมกันยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในครั้งนี้
นายภูมภัสส์ กล่าวว่า จากที่พวกเรารวบรวมข้อมูลพบว่า มีโรงเรียนกว่า 150 แห่ง ที่มีการจัดสอบปลายภาคชนกับตารางสอบ TCAS ทำให้พวกเราต้องมาร้องศาลในวันนี้ เพราะการที่เรายังไม่ได้สอบปลายภาค จบชั้น ม.6 แล้วต้องไปสอบ TCAS ทำให้พวกเราได้รับผลกระทบไปหมด ที่ผ่านมา พวกเรากลุ่มนักเรียนได้พยายามเสนอตารางสอบ TCAS ใหม่ ที่ไม่ส่งผลกระทบกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อ ศธ. ทปอ. สทศ. แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ขณะที่ ผศ.ดร.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูจากตารางสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี 2564 พบว่ามีการจัดสอบติดต่อกัน มากกว่า 30 วิชา ในช่วงเวลา 22 วัน ทั้งการสอบ GAT PAT ONET TCAS และ 9 วิชาสามัญ ในระหว่างนั้นยังมีการสอบโควตาเข้าสาขาวิชาแพทย์ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระดับภูมิภาคอย่างภาคอีสานยังมีการสอบสมรรถนะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้นเดือนเมษายนยังมีการสอบวิชาเฉพาะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นตัน ในระหว่างนั้นโรงเรียนบางแห่งยังมีการจัดสอบปลายภาคด้วยนอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสอบทั้งหมดยังมีความบกพร่องในการบริหารจัดการ ไม่มีการประกาศมาตรการป้องกันโรคอย่างชัดเจน ไม่แสดงตัวอย่างการป้องกันโรคเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เด็กนักเรียนได้เตรียมพร้อมก่อน ซึ่งการที่ ทปอ.ออกมาแจงถึงการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ว่าปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. ส่วน สทศ.ประกาศมาตรการป้องกันไว้ในเว็บไซต์ของ สทศ. ไม่ตอบโจทย์และขาดความรู้ความเข้าใจในมุมของผู้เข้าสอบ ซึ่งตนเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงและทำความเข้าใจกับมาตรการการป้องกันในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และต้องแจ้งกำหนดเวลาในแต่ละมาตรการ เพราะผู้เข้าสอบจะรู้เพียงตารางสอบวิชาแรก คือ GAT ซึ่งเริ่มสอบตั้งแต่เวลา 08.30 น. แต่ไม่รู้ในรายละเอียดว่าจะต้องเข้าไปถึงสนามสอบก่อนเวลามากน้อยเพียงใด และมาตรการป้องกันโรคดำเนินการในส่วนใดของสนามสอบ ทั้งหมดถือเป็นการผลักภาระให้ผู้เข้าสอบไปเผชิญสถานการณ์หน้างานด้วยตัวเอง โดยขาดความรับผิดชอบของผู้ใหญ่