นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ออนไลน์สำหรับบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 มีประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก โดยมียอดลงทะเบียนเข้ามามากกว่า 2 หมื่นราย คิดเป็นจำนวนกว่า 4 หมื่นบัญชี
ขั้นตอนต่อไป ธปท. จะส่งข้อมูลคำขอไกล่เกลี่ยเหล่านี้ไปยังผู้ให้บริการทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงสถานะของลูกหนี้ จากนั้นเจ้าหนี้จะติดต่อลูกหนี้กลับไปเพื่อนัดลงนามในสัญญา ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน เพราะมีผู้ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอเน้นย้ำให้ลูกหนี้ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยันการลงทะเบียน เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินเจ้าหนี้สามารถดำเนินการต่อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2564 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับประชาชนที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์ครั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เพจของงานมหกรรมไกล่เกลี่ย https://www.1213.or.th/App/DMed/V1 หรือลิงก์ผ่านทาง Line ธปท. (@bankofthailand) และหากต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 หรือฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผ่านอีเมลของ ฝคง. (FCC@bot.or.th) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
ขั้นตอนต่อไป ธปท. จะส่งข้อมูลคำขอไกล่เกลี่ยเหล่านี้ไปยังผู้ให้บริการทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล รวมถึงสถานะของลูกหนี้ จากนั้นเจ้าหนี้จะติดต่อลูกหนี้กลับไปเพื่อนัดลงนามในสัญญา ซึ่งขั้นตอนนี้อาจใช้ระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน เพราะมีผู้ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอเน้นย้ำให้ลูกหนี้ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยันการลงทะเบียน เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินเจ้าหนี้สามารถดำเนินการต่อได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางต่างๆ ได้จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2564 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับประชาชนที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับงานมหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์ครั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เพจของงานมหกรรมไกล่เกลี่ย https://www.1213.or.th/App/DMed/V1 หรือลิงก์ผ่านทาง Line ธปท. (@bankofthailand) และหากต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 หรือฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผ่านอีเมลของ ฝคง. (FCC@bot.or.th) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ