กรณีโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง เปิดให้บุคคลทั่วไปจองวัคซีนต้านโควิด-19 ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยกำหนดค่าจองเอาไว้ที่รายละ 4,000 บาท ขณะที่ราคาวัคซีนจะอยู่ที่ 6,000-10,000 บาท กำหนดระยะเวลาการจองถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 โดยคาดการณ์ว่า วัคซีนจะนำเข้ามาฉีดให้ได้ในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2564 โดยเว็บไซต์ของโรงพยาบาล ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ดังกล่าว เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท Moderna จากสหรัฐอเมริกา โดยจะมีการฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ระยะเวลาห่างกัน 4 สัปดาห์ ซึ่งวัคซีนจะเข้าประมาณเดือนตุลาคมปี 2564 และสงวนสิทธิเฉพาะคนที่จองก่อน ไม่สามารถคืนเงินได้เนื่องจากเป็นการสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยราคาที่แน่นอนจะแจ้งในวันที่ 6 มกราคม 2564 สามารถเปลี่ยนผู้ฉีดได้ หากผู้ซื้อไม่สามารถฉีดได้นั้น
วันนี้ (27 ธ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ทาง อย.ได้ประสานไปยังโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว ให้ลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ เพราะยังไม่สามารถจองวัคซีนได้ เนื่องจากโดยหลักการแล้ว หากเป็นการผลิตวัคซีน หรือยา แม้ได้รับการรับรองจาก อย.ต่างประเทศว่าสามารถจำหน่ายหรือฉีดได้ แต่ถ้านำเข้ามาใช้ในประเทศไทยจะต้องผ่าน อย.ของไทยก่อน
วันนี้ (27 ธ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ทาง อย.ได้ประสานไปยังโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว ให้ลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ เพราะยังไม่สามารถจองวัคซีนได้ เนื่องจากโดยหลักการแล้ว หากเป็นการผลิตวัคซีน หรือยา แม้ได้รับการรับรองจาก อย.ต่างประเทศว่าสามารถจำหน่ายหรือฉีดได้ แต่ถ้านำเข้ามาใช้ในประเทศไทยจะต้องผ่าน อย.ของไทยก่อน