ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ชี้แจงว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในประเด็นเรื่อง ทาปิโตรเลียมเจลลี ช่วยดักจับฝุ่น ป้องกัน PM 2.5 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแชร์สูตรป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยวิธีการนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาบางๆ ไว้ที่รูจมูก เพื่อดักจับฝุ่นนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงว่า การนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาในรูจมูกเพื่อหวังผลในการดักจับฝุ่น PM 2.5 นั้น ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ สำหรับวิธีการป้องกันฝุ่นควรใส่หน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองได้อย่างน้อย 95% ขึ้นไปหรือที่เรียกกันว่า N95
โดยปิโตรเลียมเจลลี (Petroleum jelly) เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ เมื่อนำไปผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายออกไปก็จะสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ สามารถเคลือบผิวไม่ให้น้ำระเหยออกไป จึงนิยมนำมาใช้ทาผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องจากคณะกรรมการอาหารและยาสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.oryor.com หรือโทร. 02 5907000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาในรูจมูกเพื่อหวังผลในการดักจับฝุ่น PM 2.5 นั้น ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ สำหรับวิธีการป้องกันฝุ่นควรใส่หน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองได้อย่างน้อย 95% ขึ้นไป
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
จากที่มีการแชร์สูตรป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยวิธีการนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาบางๆ ไว้ที่รูจมูก เพื่อดักจับฝุ่นนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงว่า การนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาในรูจมูกเพื่อหวังผลในการดักจับฝุ่น PM 2.5 นั้น ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ สำหรับวิธีการป้องกันฝุ่นควรใส่หน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองได้อย่างน้อย 95% ขึ้นไปหรือที่เรียกกันว่า N95
โดยปิโตรเลียมเจลลี (Petroleum jelly) เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ เมื่อนำไปผ่านกระบวนการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายออกไปก็จะสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ สามารถเคลือบผิวไม่ให้น้ำระเหยออกไป จึงนิยมนำมาใช้ทาผิวเพื่อป้องกันผิวแห้ง
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องจากคณะกรรมการอาหารและยาสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.oryor.com หรือโทร. 02 5907000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การนำปิโตรเลียมเจลลีมาทาในรูจมูกเพื่อหวังผลในการดักจับฝุ่น PM 2.5 นั้น ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ สำหรับวิธีการป้องกันฝุ่นควรใส่หน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองได้อย่างน้อย 95% ขึ้นไป
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา