ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ชี้แจงว่า ตามที่มีข้อความปรากฏในช่องทางสื่อ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง บรรจุอิสลามศึกษาเข้าทุกโรงเรียน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีข้อความปรากฏตามสื่อเรื่อง บรรจุอิสลามศึกษาเข้าทุกโรงเรียน เพราะเป็นกฎกระทรวง ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีนโยบายออกกฎหรือบังคับให้ทุกโรงเรียน เรียนอิสลามศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ
1. เป็นสาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2. การเรียนการสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนาหรืออิสลามศึกษาแบบเข้ม ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมีโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนา ทั้งสิ้น 350 โรงเรียน
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สพฐ. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่ https://www.mhesi.go.th/หรือ โทร 1313
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีนโยบายออกกฎหรือบังคับให้ทุกโรงเรียน เรียนอิสลามศึกษา
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
จากกรณีที่มีข้อความปรากฏตามสื่อเรื่อง บรรจุอิสลามศึกษาเข้าทุกโรงเรียน เพราะเป็นกฎกระทรวง ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีนโยบายออกกฎหรือบังคับให้ทุกโรงเรียน เรียนอิสลามศึกษา โดยการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ
1. เป็นสาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2. การเรียนการสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนาหรืออิสลามศึกษาแบบเข้ม ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมีโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนา ทั้งสิ้น 350 โรงเรียน
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สพฐ. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่ https://www.mhesi.go.th/หรือ โทร 1313
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีนโยบายออกกฎหรือบังคับให้ทุกโรงเรียน เรียนอิสลามศึกษา
หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม