นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยถึงการดำเนินการกับเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย โดยมีด้วยกัน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1 รับแจ้งเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายจากประชาชน หรือหน่วยงาน
2 เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบรวบรวมหลักฐาน
3 ส่งข้อมูลหลักฐานให้รัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบยื่นคำร้องต่อศาล
4 ส่งไปขอให้ศาลมีคำสั่งปิด หรือลบข้อมูล
5 ส่งคำสั่งศาลแจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
6 ส่งคำสั่งศาลถึงผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก / ยูทูบ / ทวิตเตอร์) เพื่อปิด หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
7 ให้ บก.ปอท. หาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถร้องเรียนทุกเรื่องออนไลน์ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก อาสา จับตา ออนไลน์ http://www.facebook.com/DESMonitor ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทำขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางกลางในการรับแจ้งข้อมูลจากประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง และตอบคำถามตลอด 24 ชั่วโมง
1 รับแจ้งเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายจากประชาชน หรือหน่วยงาน
2 เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบรวบรวมหลักฐาน
3 ส่งข้อมูลหลักฐานให้รัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบยื่นคำร้องต่อศาล
4 ส่งไปขอให้ศาลมีคำสั่งปิด หรือลบข้อมูล
5 ส่งคำสั่งศาลแจ้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
6 ส่งคำสั่งศาลถึงผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก / ยูทูบ / ทวิตเตอร์) เพื่อปิด หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
7 ให้ บก.ปอท. หาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถร้องเรียนทุกเรื่องออนไลน์ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก อาสา จับตา ออนไลน์ http://www.facebook.com/DESMonitor ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทำขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางกลางในการรับแจ้งข้อมูลจากประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง และตอบคำถามตลอด 24 ชั่วโมง