ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแจ้งว่า ตามที่มีคลิปวิดีโอแนะนำเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ยืนขาเดียว ทดสอบการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ด้วยตนเอง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
จากที่มีการแชร์คลิปวิดีโอการทดสอบตัวเองว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ด้วยการให้ยืนขาเดียวนั้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ได้ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า การยืนขาเดียวได้ไม่เกิน 20 วินาที ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีโรคอื่นที่เกิดจากการทรงตัวผิดปกติได้อีก เช่น โรคของการรับความรู้สึกของข้อผิดปกติ โรคข้อต่าง ๆ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลายประสาทอักเสบ ก็อาจจะให้ผลเช่นกัน
โดยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นการตีบ แตก หรืออุดตัน มักจะมีอาการเป็นฉับพลันทันใด หรือเป็นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อสมองที่เกิดความเสียหาย เช่น พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง กลืนลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพแหว่งไป ใบหน้าหรือแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ชาครึ่งซีก เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ เป็นต้น จึงไม่ควรแชร์ข้อมูลนี้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเสียเวลาและโอกาสในการที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
สำหรับโรคหลอดเลือดสมองหากไปโรงพยาบาลทันภายในเวลา - ชั่วโมง จะได้รับการรักษาด้วยยาฉีดสลายลิ่มเลือด แต่หากมัวแต่ทดสอบตนเองด้วยการยืนขาเดียวแล้วทำได้ แต่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็จะเสียโอกาสในการรักษาได้
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899
จากที่มีการแชร์คลิปวิดีโอการทดสอบตัวเองว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ด้วยการให้ยืนขาเดียวนั้น ทางสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ได้ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า การยืนขาเดียวได้ไม่เกิน 20 วินาที ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีโรคอื่นที่เกิดจากการทรงตัวผิดปกติได้อีก เช่น โรคของการรับความรู้สึกของข้อผิดปกติ โรคข้อต่าง ๆ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลายประสาทอักเสบ ก็อาจจะให้ผลเช่นกัน
โดยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ว่าจะเป็นการตีบ แตก หรืออุดตัน มักจะมีอาการเป็นฉับพลันทันใด หรือเป็นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อสมองที่เกิดความเสียหาย เช่น พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง กลืนลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพแหว่งไป ใบหน้าหรือแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ชาครึ่งซีก เดินเซ ทรงตัวไม่ได้ เป็นต้น จึงไม่ควรแชร์ข้อมูลนี้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเสียเวลาและโอกาสในการที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
สำหรับโรคหลอดเลือดสมองหากไปโรงพยาบาลทันภายในเวลา - ชั่วโมง จะได้รับการรักษาด้วยยาฉีดสลายลิ่มเลือด แต่หากมัวแต่ทดสอบตนเองด้วยการยืนขาเดียวแล้วทำได้ แต่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองก็จะเสียโอกาสในการรักษาได้
ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pni.go.th หรือโทร. 02 3069899