ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาค จำนวน 1,269 คน เรื่อง "โควิด-19 รอบ 2?"
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลว่าประเทศไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นรอบที่ 2 พบว่า ร้อยละ 35.46 ระบุว่า กังวลมาก เพราะ ประชาชนบางกลุ่มละเลยการป้องกันตนเอง และหากมีการแพร่ระบาดอีกจะทำให้การใช้ชีวิตแย่ลงกว่าเดิม รายได้จะหายไปมากกว่าเดิม ร้อยละ 31.05 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ และมาตรการป้องกันไม่รัดกุม โดยเฉพาะการเปิดให้ชาวต่างชาติเข้าประเทศ ร้อยละ 16.23 ระบุ ไม่ค่อยกังวล เพราะ มั่นใจในการทำงานของรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะที่บางส่วนบอกว่าอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ไม่ได้เป็นพื้นที่เสี่ยง และประชาชนส่วนใหญ่ดูแลและป้องกันตนเองดี และร้อยละ 17.26 ระบุว่า ไม่กังวล เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลและป้องกันตนเองดี เชื่อมั่นในมาตรการการป้องกันของรัฐบาล และไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศติดต่อกันนานมาก
ด้านความคิดเห็นต่อประเทศไทยจะมีการเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศเป็นรอบที่ 2 จากการสำรวจ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.79 ระบุว่า จะเกิดขึ้นแน่ เพราะ มีการเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศแบบไม่มีการกักตัว ส่วนชาวต่างชาติไม่ค่อยป้องกันตนเอง ประชาชนบางกลุ่มละเลยการป้องกันตนเอง และรัฐบาลขาดความระมัดระวัง ไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด รองลงมา ร้อยละ 30.89 ระบุ จะไม่เกิดขึ้น เพราะ ยังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และประชาชนส่วนใหญ่มีการป้องกันตนเอง การ์ดยังไม่ตก ร้อยละ 29.00 ระบุว่า ไม่มั่นใจ เพราะ รัฐบาลการ์ดเริ่มตก และเกรงว่าจะไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ได้ และเชื้อไวรัสก็ยังไม่หมดไป 100% และร้อยละ 0.32 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามกลุ่มผู้ที่ระบุว่าประเทศไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศเป็นรอบที่ 2 อย่างแน่นอน และกลุ่มที่ระบุว่า ไม่มั่นใจ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.01 ระบุว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้าประเทศได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ รองลงมา ร้อยละ 44.93 ระบุว่า ภาครัฐการ์ดตก (ขาดการระมัดระวัง ป้องกัน) ร้อยละ 42.53 ระบุว่า การแอบลักลอบเข้าเมืองของคนต่างชาติ ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ประชาชนการ์ดตก (ขาดการระมัดระวัง ป้องกัน) และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลว่าประเทศไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นรอบที่ 2 พบว่า ร้อยละ 35.46 ระบุว่า กังวลมาก เพราะ ประชาชนบางกลุ่มละเลยการป้องกันตนเอง และหากมีการแพร่ระบาดอีกจะทำให้การใช้ชีวิตแย่ลงกว่าเดิม รายได้จะหายไปมากกว่าเดิม ร้อยละ 31.05 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะ ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ และมาตรการป้องกันไม่รัดกุม โดยเฉพาะการเปิดให้ชาวต่างชาติเข้าประเทศ ร้อยละ 16.23 ระบุ ไม่ค่อยกังวล เพราะ มั่นใจในการทำงานของรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะที่บางส่วนบอกว่าอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ไม่ได้เป็นพื้นที่เสี่ยง และประชาชนส่วนใหญ่ดูแลและป้องกันตนเองดี และร้อยละ 17.26 ระบุว่า ไม่กังวล เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลและป้องกันตนเองดี เชื่อมั่นในมาตรการการป้องกันของรัฐบาล และไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศติดต่อกันนานมาก
ด้านความคิดเห็นต่อประเทศไทยจะมีการเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศเป็นรอบที่ 2 จากการสำรวจ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.79 ระบุว่า จะเกิดขึ้นแน่ เพราะ มีการเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศแบบไม่มีการกักตัว ส่วนชาวต่างชาติไม่ค่อยป้องกันตนเอง ประชาชนบางกลุ่มละเลยการป้องกันตนเอง และรัฐบาลขาดความระมัดระวัง ไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด รองลงมา ร้อยละ 30.89 ระบุ จะไม่เกิดขึ้น เพราะ ยังเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และประชาชนส่วนใหญ่มีการป้องกันตนเอง การ์ดยังไม่ตก ร้อยละ 29.00 ระบุว่า ไม่มั่นใจ เพราะ รัฐบาลการ์ดเริ่มตก และเกรงว่าจะไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ได้ และเชื้อไวรัสก็ยังไม่หมดไป 100% และร้อยละ 0.32 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามกลุ่มผู้ที่ระบุว่าประเทศไทยจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศเป็นรอบที่ 2 อย่างแน่นอน และกลุ่มที่ระบุว่า ไม่มั่นใจ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.01 ระบุว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้าประเทศได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ รองลงมา ร้อยละ 44.93 ระบุว่า ภาครัฐการ์ดตก (ขาดการระมัดระวัง ป้องกัน) ร้อยละ 42.53 ระบุว่า การแอบลักลอบเข้าเมืองของคนต่างชาติ ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ประชาชนการ์ดตก (ขาดการระมัดระวัง ป้องกัน) และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ