พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ครั้งที่ 3/2563 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สทนช. โดยที่ประชุมรับทราบการลงพื้นที่ตรวจราชการของ พล.อ.ประวิตร ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. ทั้งการแก้ปัญหาความเค็ม ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง การป้องกันภัยแล้งพื้นที่ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง การกำจัดผักตบชวา อ.สามพราน จ.นครปฐม การตรวจทางอากาศสถานการณ์กำจัดผักตบชวาลุ่มน้ำภาคกลาง และการติดตามการขุดเจาะบ่อบาดาล การกระจายน้ำเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ จ.เลย รวมทั้งรับทราบความคืบหน้าโครงการปฏิบัติการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำปี 62/63 มีโครงการที่ดำเนินการแล้วจำนวน 210 แห่ง โครงการเร่งด่วนเพื่อการกักเก็บน้ำในฤดูฝนปี 2563 ดำเนินการแล้วจำนวน 250 แห่ง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เร่งดำเนินการ 8 มาตรการ บริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับฤดูฝนปี 2563 พร้อมรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงฤดูฝน และการพัฒนาน้ำบาดาล และธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเตรียมดัก เก็บน้ำฝนไว้ใช้ฤดูแล้ง และเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนนี้
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กำชับ กอนช. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ บูรณาการทำงานตาม 8 มาตรการอย่างจริงจัง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ เพื่อลดผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกร เตรียมน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ โดยเน้นย้ำให้กำจัดผักตบชวา และขุดลอกคูคลองให้ได้ตามแผนงาน พร้อมเร่งบริหารจัดการบ่อน้ำบาดาล และธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้ฤดูแล้งหน้า และป้องกันน้ำท่วม รองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เร่งดำเนินการ 8 มาตรการ บริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับฤดูฝนปี 2563 พร้อมรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงฤดูฝน และการพัฒนาน้ำบาดาล และธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเตรียมดัก เก็บน้ำฝนไว้ใช้ฤดูแล้ง และเพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝนนี้
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กำชับ กอนช. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ บูรณาการทำงานตาม 8 มาตรการอย่างจริงจัง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ เพื่อลดผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกร เตรียมน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ โดยเน้นย้ำให้กำจัดผักตบชวา และขุดลอกคูคลองให้ได้ตามแผนงาน พร้อมเร่งบริหารจัดการบ่อน้ำบาดาล และธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำฝนไว้ใช้ฤดูแล้งหน้า และป้องกันน้ำท่วม รองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ต่อไป