นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ช่วงเช้ามืดวันที่ 15-16 เมษายนนี้ จะเกิดปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" โดยวันที่ 15 เมษายน เวลาประมาณ 01:30 น. ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเคียงดวงจันทร์ ห่างกันประมาณ 3 องศา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ช่วงเวลาเดียวกัน ยังมีดาวเสาร์ปรากฏถัดลงมาด้านล่าง สังเกตได้จนถึงรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
จากนั้นวันที่ 16 เมษายน ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนลงมาเคียงดาวอังคาร ห่างกันประมาณ 4.6 องศา ปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก บริเวณกลุ่มดาวแพะทะเล ช่วงเวลาเดียวกัน ยังมีดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีปรากฏถัดสูงขึ้นไป เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.20 น. จนถึงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจตื่นมาชมความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้าตามวันเวลาดังกล่าว หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีจะสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ ตามคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน จึงถือเป็นเรื่องปกติ สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
จากนั้นวันที่ 16 เมษายน ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนลงมาเคียงดาวอังคาร ห่างกันประมาณ 4.6 องศา ปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก บริเวณกลุ่มดาวแพะทะเล ช่วงเวลาเดียวกัน ยังมีดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีปรากฏถัดสูงขึ้นไป เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.20 น. จนถึงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจตื่นมาชมความสวยงามของปรากฏการณ์ท้องฟ้าตามวันเวลาดังกล่าว หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีจะสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ ตามคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน จึงถือเป็นเรื่องปกติ สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์