ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยวันนี้ (24มี.ค.) ว่า สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ได้สร้างสถิติใหม่ให้อุตสาหกรรมประกันภัย ทำให้ยอดขายกรมธรรม์มีแนวโน้มแตะระดับ 2-3 ล้านฉบับ ภายในเดือนมีนาคม ซึ่งทำลายสถิติประกันภัย 10 บาท ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2561 ที่ทำไว้ 1.3 ล้านฉบับ ซึ่งโควิด-19 เป็นตัวช่วยจุดกระแสความตื่นตัว การยอมรับ และความคุ้นเคยต่อการซื้อประกันรายย่อยผ่านช่องทางดิจิทัลและสาขา
อย่างไรก็ดี อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองพื้นฐานเฉลี่ยที่ 0.5-1.0% ของทุนประกัน หรือประมาณ 500-1,000 บาทต่อความคุ้มครอง 1 แสนบาท ทำให้แม้จะมีผู้สนใจซื้อประกันรวมสูงถึง 2-3 ล้านราย แต่เบี้ยประกันรับรวมจะอยู่ที่ระดับ 2-3 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.20-0.35% ของเบี้ยรับรวม 8.55 แสนล้านบาท (รวมทั้งประกันวินาศภัยและประกันชีวิต) จากอุตสาหกรรมประกันชีวิตและวินาศภัยในปี 2562
ทั้งนี้ คาดว่า ประกันโควิด-19 มีส่วนช่วยขยายฐานผู้เอาประกันภัยรายย่อยของไทยให้เพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 20% หรือคิดเป็นจำนวน 2-3 ล้านราย จากจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพที่มีผลบังคับทั้งสิ้นประมาณ 11 ล้านฉบับ (จากธุรกิจประกันวินาศภัย 10 ล้านฉบับ และธุรกิจประกันชีวิต 1 ล้านฉบับ) ซึ่งแม้ฐานลูกค้าบางกลุ่มอาจมาจากลูกค้าเก่าที่ซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่สะท้อนความสำเร็จของช่องทางขายดิจิทัลและ InsurTech ต่อการขายประกันรายย่อย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการพอดี และในช่องทางการใช้ที่ไม่ยากจนเกินไปสำหรับผู้บริโภค
อย่างไรก็ดี อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับความคุ้มครองพื้นฐานเฉลี่ยที่ 0.5-1.0% ของทุนประกัน หรือประมาณ 500-1,000 บาทต่อความคุ้มครอง 1 แสนบาท ทำให้แม้จะมีผู้สนใจซื้อประกันรวมสูงถึง 2-3 ล้านราย แต่เบี้ยประกันรับรวมจะอยู่ที่ระดับ 2-3 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.20-0.35% ของเบี้ยรับรวม 8.55 แสนล้านบาท (รวมทั้งประกันวินาศภัยและประกันชีวิต) จากอุตสาหกรรมประกันชีวิตและวินาศภัยในปี 2562
ทั้งนี้ คาดว่า ประกันโควิด-19 มีส่วนช่วยขยายฐานผู้เอาประกันภัยรายย่อยของไทยให้เพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 20% หรือคิดเป็นจำนวน 2-3 ล้านราย จากจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพที่มีผลบังคับทั้งสิ้นประมาณ 11 ล้านฉบับ (จากธุรกิจประกันวินาศภัย 10 ล้านฉบับ และธุรกิจประกันชีวิต 1 ล้านฉบับ) ซึ่งแม้ฐานลูกค้าบางกลุ่มอาจมาจากลูกค้าเก่าที่ซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่สะท้อนความสำเร็จของช่องทางขายดิจิทัลและ InsurTech ต่อการขายประกันรายย่อย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการพอดี และในช่องทางการใช้ที่ไม่ยากจนเกินไปสำหรับผู้บริโภค