นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ด้วงก้นกระดกหรือแมลงก้นกระดก พบมากในนาข้าวและพื้นที่การเกษตร โดยพบมากในช่วงปลายฤดูฝน
สำหรับข้อมูลด้านระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่มารักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง พบว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี จะมีการกระจายตัวของผู้ป่วยภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดกมากที่สุด อาการผิวหนังอักเสบ เกิดจากการที่มีแมลงมาเกาะตามร่างกายแล้วเผลอปัด หรือบี้ทำให้แมลงท้องแตกและสัมผัสกับสารพิษในตัวแมลง
ทั้งนี้ อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่สัมผัส ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 8-12 ชั่วโมง พบมากบริเวณนอกร่มผ้า ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ รูปร่างมักเป็นทางยาว เป็นไปตามรอยปาดของมือที่บี้แมลง
สำหรับข้อมูลด้านระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่มารักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง พบว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี จะมีการกระจายตัวของผู้ป่วยภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดกมากที่สุด อาการผิวหนังอักเสบ เกิดจากการที่มีแมลงมาเกาะตามร่างกายแล้วเผลอปัด หรือบี้ทำให้แมลงท้องแตกและสัมผัสกับสารพิษในตัวแมลง
ทั้งนี้ อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่สัมผัส ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 8-12 ชั่วโมง พบมากบริเวณนอกร่มผ้า ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ รูปร่างมักเป็นทางยาว เป็นไปตามรอยปาดของมือที่บี้แมลง