คณะผู้แทนระดับสูงของพม่าจำนวน 15 คน และทีมรับมือเหตุฉุกเฉินจากอาเซียน 5 คน เดินทางเยือนค่ายผู้อพยพชาวโรฮีนจา ในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ เพื่อหารือเกี่ยวกับกระบวนการส่งกลับชาวโรฮีนจา พร้อมอธิบายต่อชาวโรฮีนจาเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่พม่าจะนำมาใช้เพื่อให้ชาวโรฮีนจาเดินทางกลับอย่างสบายใจ เนื่องจากชาวโรฮีนจาจำนวนมากยังวิตกเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย
ขณะที่ทางการบังกลาเทศจะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบริเวณค่ายผู้อพยพในห้วงเวลาที่คณะผู้แทนฯ เยี่ยมชมค่ายผู้อพยพ
ทั้งนี้ พม่าและบังกลาเทศลงนามข้อตกลงส่งผู้อพยพชาวโรฮีนจากลับประเทศเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2560 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเริ่มกระบวนการส่งกลับได้ โดยบังกลาเทศได้กล่าวโทษเมียนมาสำหรับความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการรับชาวโรฮีนจากลับประเทศ
ขณะที่ทางการบังกลาเทศจะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดบริเวณค่ายผู้อพยพในห้วงเวลาที่คณะผู้แทนฯ เยี่ยมชมค่ายผู้อพยพ
ทั้งนี้ พม่าและบังกลาเทศลงนามข้อตกลงส่งผู้อพยพชาวโรฮีนจากลับประเทศเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2560 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเริ่มกระบวนการส่งกลับได้ โดยบังกลาเทศได้กล่าวโทษเมียนมาสำหรับความล่าช้าที่เกิดขึ้นในการรับชาวโรฮีนจากลับประเทศ