xs
xsm
sm
md
lg

ปชช.มองความขัดแย้งการเมืองเกิดจากการแย่งชิงอำนาจเกือบ 60%

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 1,028 คน ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2562 เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคมนี้ พรรคการเมืองมีการลงพื้นที่แข่งขันหาเสียงอย่างเข้มข้น จนทำให้มีความกังวลว่าจะนำไปสู่ประเด็นที่สร้างความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้

1.ประชาชนคิดว่าความขัดแย้งทางการเมือง ณ วันนี้ เกิดจากสาเหตุใด

อันดับ 1 การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ร้อยละ 59.22

อันดับ 2 แบ่งพรรคแบ่งพวก อยู่คนละขั้ว ร้อยละ 49.02

อันดับ 3 ไม่เป็นประชาธิปไตย สองมาตรฐาน ร้อยละ 42.35

อันดับ 4 ทัศนคติ แนวความคิดแตกต่างกัน ร้อยละ 18.43

อันดับ 5 ขาดจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 10.59

2.เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ก่อนที่จะมีการประกาศเลือกตั้ง กับหลังจากที่มีการประกาศเลือกตั้งแล้วประชาชนคิดว่าความขัดแย้งเป็นอย่างไร

อันดับ 1 ขัดแย้งพอๆ กัน ร้อยละ 61.48

อันดับ 2 หลังจากที่มีการประกาศเลือกตั้ง มีความขัดแย้งมากกว่า ร้อยละ 22.57

อันดับ 3 ก่อนการประกาศเลือกตั้ง มีความขัดแย้งมากกว่า ร้อยละ 15.95

3.ถ้าไม่มีการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง ประชาชนคิดว่าบ้านเมืองจะมีโอกาสวุ่นวายเหมือนกับช่วงก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาบริหารประเทศหรือไม่

อันดับ 1 มีโอกาสวุ่นวาย ร้อยละ 68.09 เพราะ อาจเกิดความขัดแย้ง มีการเคลื่อนไหว ชุมนุม เรียกร้อง การเลือกตั้งร้อนแรง คนไม่เคารพกฎกติกา

อันดับ 2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.85 เพราะมีทั้งกลุ่มที่สนับสนุนและต่อต้าน ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของนายกรัฐมนตรี อาจมีมือที่สามเข้ามาแทรกแซง

อันดับ 3 ไม่มีโอกาส ร้อยละ 5.06 เพราะ รัฐบาล คสช. มีอำนาจเด็ดขาด มีมาตรา 44 ไว้คอยควบคุมดูแลบ้านเมือง มีบทเรียนจากที่ผ่านมา

4.วิธีการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง คือ

อันดับ 1 การบังคับใช้กฎหมายเด็ดขาด เข้มงวดกวดขัน บทลงโทษรุนแรง ร้อยละ 64.75

อันดับ 2 รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เห็นแก่ส่วนรวม มีจิตสำนึก ร้อยละ 47.13

อันดับ 3 มีสติ ไม่วู่วาม ติดตามข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ ร้อยละ 33.61