ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ จะมีความชัดเจนการปล่อยสินเชื่อให้แท็กซี่ ในวันนี้ (0 ธ.ค.) เพื่อให้มีรถเป็นของตนเองใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้ภายในไม่เกิน 60 วัน
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ ระบุว่า อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดการปล่อยสินเชื่อ ทั้งเรื่องวงเงินต่อรายและอัตราดอกเบี้ย จากวงเงินรวมที่ได้รับการอนุมัติวงเงินจากคณะรัฐมนตรีในโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (โลคอล อีโคโนมี โลน) 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในชุมชนหรือร้านโชห่วย และอีก 20,000 ล้านบาท ที่จะนำมาปล่อยให้กับกลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ รวมทั้งกลุ่มเกษตร และสินค้าชุมชน เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ประมาณ 120,000 ราย ยังเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นๆ อีกจำนวนมาก ทั้งผู้โดยสารที่ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 3-5 ล้านคนต่อวัน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี ดังนั้น บริการของแท็กซี่จึงมีความสำคัญ และควรยกระดับมาตรฐานด้านบริการ คุณภาพรถ และความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ และการท่องเที่ยวไทย
ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ตามข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ปัจจุบันมีผู้ขับรถแท็กซี่จากจำนวนใบอนุญาตขับรถแท็กซี่ทั่วประเทศมีอยู่ 122,356 ราย แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 57.54% และส่วนภูมิภาค 42.46% โดยผู้ขับแท็กซี่เป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องทางการเงินไม่ดีและมีความอ่อนไหวด้านรายได้ตามภาวะเศรษฐกิจ
นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ ระบุว่า อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดการปล่อยสินเชื่อ ทั้งเรื่องวงเงินต่อรายและอัตราดอกเบี้ย จากวงเงินรวมที่ได้รับการอนุมัติวงเงินจากคณะรัฐมนตรีในโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (โลคอล อีโคโนมี โลน) 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงิน 10,000 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในชุมชนหรือร้านโชห่วย และอีก 20,000 ล้านบาท ที่จะนำมาปล่อยให้กับกลุ่มผู้ประกอบการแท็กซี่ รวมทั้งกลุ่มเกษตร และสินค้าชุมชน เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ ประมาณ 120,000 ราย ยังเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นๆ อีกจำนวนมาก ทั้งผู้โดยสารที่ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 3-5 ล้านคนต่อวัน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี ดังนั้น บริการของแท็กซี่จึงมีความสำคัญ และควรยกระดับมาตรฐานด้านบริการ คุณภาพรถ และความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ และการท่องเที่ยวไทย
ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ตามข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ปัจจุบันมีผู้ขับรถแท็กซี่จากจำนวนใบอนุญาตขับรถแท็กซี่ทั่วประเทศมีอยู่ 122,356 ราย แบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 57.54% และส่วนภูมิภาค 42.46% โดยผู้ขับแท็กซี่เป็นกลุ่มที่มีสภาพคล่องทางการเงินไม่ดีและมีความอ่อนไหวด้านรายได้ตามภาวะเศรษฐกิจ