ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ก.ย.) สถานการณ์น้ำคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยลำดับ แม้น้ำในเขื่อนแก่งกระจานยังเกินความจุอ่างฯ แต่ได้บริหารจัดการผันน้ำเข้าระบบชลประทาน เพื่อควบคุมการระบายน้ำด้านท้ายเขื่อนเพชร ไม่ให้เกินเกณฑ์เฝ้าระวัง และยังคงเหลือพื้นที่น้ำท่วมที่อำเภอบ้านแหลม ซึ่งเป็นทางออกทะเลและยังมีภาวะน้ำทะเลหนุนสูง
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ในระยะ 2-3 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักในลุ่มน้ำเพชรบุรี ทำให้มีน้ำท่าไหลลงไปสมทบกับน้ำที่มาจากเขื่อนแก่งกระจานรวมเป็น 195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทานบริหารจัดการด้วยการรับน้ำเข้าคลองระบบชลประทาน 4 สาย และผันน้ำเข้าคลอง RMC-3 ส่งเข้าคลอง D9 เพื่อระบายออกทะเลทางหาดปึกเตียน อ.ท่ายาง อีกทางหนึ่งรวมประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้สามารถควบคุมน้ำที่ไหลผ่านท้ายเขื่อนเพชร ได้ในอัตรา 125 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละประมาณ 11 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังไม่เกิน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ตัวเมืองเพชรบุรีรับได้
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ในระยะ 2-3 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักในลุ่มน้ำเพชรบุรี ทำให้มีน้ำท่าไหลลงไปสมทบกับน้ำที่มาจากเขื่อนแก่งกระจานรวมเป็น 195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทานบริหารจัดการด้วยการรับน้ำเข้าคลองระบบชลประทาน 4 สาย และผันน้ำเข้าคลอง RMC-3 ส่งเข้าคลอง D9 เพื่อระบายออกทะเลทางหาดปึกเตียน อ.ท่ายาง อีกทางหนึ่งรวมประมาณ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้สามารถควบคุมน้ำที่ไหลผ่านท้ายเขื่อนเพชร ได้ในอัตรา 125 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละประมาณ 11 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังไม่เกิน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ตัวเมืองเพชรบุรีรับได้