วันนี้ (22 เม.ย.) ชาวบ้านชุมชมป้อมมหากาฬ รวมตัวบริเวณลานกิจกรรม กล่าวคำอาลา และขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันต่อสู้จากการถูกไล่รื้อย้ายบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างภายในชุมชน กับเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ยาวนานกว่า 26 ปี โดยตัวแทนชุมชนได้กล่าวบันทึกความทรงจำของป้อมมหากาฬ ว่าจะไม่เลือนหายไปจากใจของทุกคน ท่ามกลางเสียงสะอื้นของคนในชุมชน
ขณะที่นายธวัชชัย วรมหาคุณ ประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ก้มลงกราบผืนดินพร้อมน้ำตาที่จะต้องอำลาจากชุมชนป้อมมหากาฬ โดยชาวบ้านต่างรู้สึกเสียดายที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่อยู่อาศัยและเสียดายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในป้อมมหากาฬ ก่อนที่ภายในวันที่ 25 เมษายนนี้ ชาวบ้านที่เหลืออยู่ภายในชุมชนป้อมมหากาฬจะต้องย้ายออกทั้งหมด
ทั้งนี้ บ้านหลายหลังถูกรื้อเหลือเพียงซากไม้ที่รอการขนย้าย รวมถึงบ้านทรงไทยเลขที่ 99 ที่เคยตั้งตระหง่านความสวยงาม ร่มเย็นให้กับชุมชนและบ้านเลขที่ 97 ซึ่งเป็น 1ใน 7 บ้านทรงไทย ที่ทาง กทม.เคยมีการประชุมร่วมกับชาวบ้านว่าจะอนุรักษ์บ้านทรงไทยหลังดังกล่าวไว้ แต่สุดท้ายต้องถูกรื้อด้วยเช่นกัน
สำหรับชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง ก่อนขึ้นมาสร้างบ้านอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่นายธวัชชัย วรมหาคุณ ประธานชุมชนป้อมมหากาฬ ก้มลงกราบผืนดินพร้อมน้ำตาที่จะต้องอำลาจากชุมชนป้อมมหากาฬ โดยชาวบ้านต่างรู้สึกเสียดายที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่อยู่อาศัยและเสียดายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในป้อมมหากาฬ ก่อนที่ภายในวันที่ 25 เมษายนนี้ ชาวบ้านที่เหลืออยู่ภายในชุมชนป้อมมหากาฬจะต้องย้ายออกทั้งหมด
ทั้งนี้ บ้านหลายหลังถูกรื้อเหลือเพียงซากไม้ที่รอการขนย้าย รวมถึงบ้านทรงไทยเลขที่ 99 ที่เคยตั้งตระหง่านความสวยงาม ร่มเย็นให้กับชุมชนและบ้านเลขที่ 97 ซึ่งเป็น 1ใน 7 บ้านทรงไทย ที่ทาง กทม.เคยมีการประชุมร่วมกับชาวบ้านว่าจะอนุรักษ์บ้านทรงไทยหลังดังกล่าวไว้ แต่สุดท้ายต้องถูกรื้อด้วยเช่นกัน
สำหรับชุมชนป้อมมหากาฬ เดิมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4 ไร่ 300 ตารางวา ปี 2559 มีบ้านเรือนทั้งหมด 64 หลัง ประชากรประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย เช่น ถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีทั้งขุนนาง ข้าราชบริพาร ปลูกสร้างบ้านเรือนพักอาศัยอยู่นอกกำแพงพระนคร รวมทั้งมีชุมชนเรือนแพอยู่ในคลองโอ่งอ่าง ก่อนขึ้นมาสร้างบ้านอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว