นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากคณะกรรมการค่าจ้างมีมติให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ย 5-22 บาททั่วประเทศไปแล้วนั้น เชื่อว่าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีการจ้างงานสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่มีการใช้แรงงานมากกว่าอุตสาหกรรมชนิดอื่น จึงอาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่รัฐบาลก็ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น การช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ขณะที่ในวันที่ 29 มกราคมนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมหารือร่วมกับประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานด้วย รวมถึงหารือเพื่อผลักดันการดำเนินงานตาม 9 มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของรัฐบาลที่ออกไปก่อนหน้านี้ เช่น โครงการบิ๊กดาต้า บิ๊กบราเธอร์ ยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน
นอกจากนี้ ยังมองว่าสำหรับผลกระทบจากการปรับค่าแรงต่อกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น ต้องไปพิจารณาถึงขนาดของแต่ละธุรกิจเป็นหลัก เพราะหากมีการใช้จำนวนแรงงานจำนวนไม่มาก ก็คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้
ขณะที่ในวันที่ 29 มกราคมนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมหารือร่วมกับประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานด้วย รวมถึงหารือเพื่อผลักดันการดำเนินงานตาม 9 มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของรัฐบาลที่ออกไปก่อนหน้านี้ เช่น โครงการบิ๊กดาต้า บิ๊กบราเธอร์ ยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน
นอกจากนี้ ยังมองว่าสำหรับผลกระทบจากการปรับค่าแรงต่อกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น ต้องไปพิจารณาถึงขนาดของแต่ละธุรกิจเป็นหลัก เพราะหากมีการใช้จำนวนแรงงานจำนวนไม่มาก ก็คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้