นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน นำคณะผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จ.ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เพื่อสอบถามความต้องการด้านแรงงาน ทั้งด้านปริมาณแรงงานที่ต้องการ ตำแหน่งงาน และสาขาที่ต้องการให้พัฒนาทักษะ เพื่อป้อนตลาดแรงงาน รวมถึงการพัฒนาทักษะให้แก่พนักงาน ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้จัดทำแผนพัฒนากำลังคนรายจังหวัดระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) เพื่อรองรับ EEC จำนวน 161,696 คน อีกทั้งมีโครงการขอรับงบประมาณด้านครุภัณฑ์การฝึกเพิ่มเติมอีกกว่า 2.5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาแรงงานในระยะยาว
สำหรับข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ จะนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่ โดยเน้นการพัฒนาทักษะรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ซึ่งมีแนวโน้มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเน้นการยกระดับทักษะ Multi Skills ,Re-Skill ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตัวแทนของสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าของแต่ละจังหวัด ผู้แทนของสถานศึกษาและตัวแทนจากสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะว่าต้องการให้มีการบูรณาการร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อนำกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในชั้นปีสุดท้าย มาพัฒนาทักษะให้มีความพร้อมก่อนเข้าตลาดแรงงาน รวมถึงการเพิ่มทักษะด้านภาษา ให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน สำหรับกลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบ ควรได้รับการพัฒนาทักษะให้มีหลายทักษะ (Multi Skills) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการจ้างงาน และลดปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลน
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำภาคเอกชนมีความเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบกิจการในเขตพื้นที่ EEC ซึ่งมีค่าค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ หากแรงงานมีทักษะฝีมือ การจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการยินดีและพร้อมปฎิบัติตาม แต่กรณีที่แรงงานขาดทักษะฝีมือ ควรต้องเร่งพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ โดยนำมาตรฐานฝีมือมาใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของการพิจารณาจ่ายค่าจ้าง
ทั้งนี้ ข้อเสนอต่างๆ ที่ได้รับในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการในส่วนที่สามารถทำได้ อีกด้านหนึ่งจะนำไปวางแผนให้สอดรับกับความต้องการและจะนำมาเสนอในการประชุมร่วมกันในครั้งต่อไป
สำหรับข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ จะนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่ โดยเน้นการพัฒนาทักษะรองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ซึ่งมีแนวโน้มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเน้นการยกระดับทักษะ Multi Skills ,Re-Skill ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ ตัวแทนของสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าของแต่ละจังหวัด ผู้แทนของสถานศึกษาและตัวแทนจากสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะว่าต้องการให้มีการบูรณาการร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อนำกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในชั้นปีสุดท้าย มาพัฒนาทักษะให้มีความพร้อมก่อนเข้าตลาดแรงงาน รวมถึงการเพิ่มทักษะด้านภาษา ให้สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน สำหรับกลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบ ควรได้รับการพัฒนาทักษะให้มีหลายทักษะ (Multi Skills) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการจ้างงาน และลดปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลน
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำภาคเอกชนมีความเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบกิจการในเขตพื้นที่ EEC ซึ่งมีค่าค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ หากแรงงานมีทักษะฝีมือ การจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการยินดีและพร้อมปฎิบัติตาม แต่กรณีที่แรงงานขาดทักษะฝีมือ ควรต้องเร่งพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ โดยนำมาตรฐานฝีมือมาใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของการพิจารณาจ่ายค่าจ้าง
ทั้งนี้ ข้อเสนอต่างๆ ที่ได้รับในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัด โดยเฉพาะหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการในส่วนที่สามารถทำได้ อีกด้านหนึ่งจะนำไปวางแผนให้สอดรับกับความต้องการและจะนำมาเสนอในการประชุมร่วมกันในครั้งต่อไป