นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดประชุมสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2560 ระหว่างสำนักงบประมาณ ร่วมกับ OECD เพื่อปรับรูปแบบจัดสรรงบประมาณของประเทศสมาชิกเอเชียให้สอดคล้องกับทิศทางของกระแสโลก ว่า การจัดทำงบประมาณยุคใหม่มุ่งเน้นจัดสรรงบประมาณรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตามโครงสร้างประชากร เพื่อออกมาตรการส่งเสริมผู้สูงอายุหลังเกษียณได้ทำงาน เพราะยังมีศักยภาพในการทำงาน การอบรมให้ความรู้ หลังจากรัฐบาลปรับรูปแบบการจัดทำงบประมาณมุ่งเน้นตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปลี่ยนไปเน้นการรับฟังความต้องการจากท้องถิ่นแทนการจัดสรรจากส่วนกลาง เช่น การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเมืองรอง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การฟื้นฟู พัฒนาสินค้า วัฒนธรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ดังนั้น การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2562 จะเปลี่ยนไปมาก ต้นเดือนมกราคม 4 หน่วยงานทั้งกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ และ สศช. จะประชุมวางกรอบงบประมาณร่วมกัน และเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ในวันที่ 10 มกราคม 2561 จะมีการประชุม 4 หน่วยงานในการกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2562 ยอมรับว่ายังเป็นงบประมาณแบบขาดดุล แต่ต้องขาดดุลน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น จึงใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง จากกรอบงบประมาณปี 2560 วงเงิน 2.9 ล้านล้านบาท ส่วนปี 2561 จะมากกว่า 3 ล้านล้านบาทหรือไม่ ต้องประเมินรายได้รัฐบาลให้ชัดเจน มุ่งเน้นรับฟังความต้องการของท้องถิ่น และรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผ่านกลไกต่าง ๆ ทั้งกองทุนเอสเอ็มอี กองทุนสวัสดิการภาครัฐ เพื่อเน้นป้องกันด้านสุขภาพสำหรับคนวัยชรา รวมทั้งเน้นจัดสรรงบประมาณพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานคุณภาพ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการแรงงานมีคุณภาพและศักยภาพนับล้านคน เพราะการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเพียงอย่างเดียวจะมีความเสี่ยง ขณะที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากนโบยายไทยแลนด์ 4.0 จึงต้องการแรงงานฝีมือจำนวนมาก
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ในวันที่ 10 มกราคม 2561 จะมีการประชุม 4 หน่วยงานในการกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2562 ยอมรับว่ายังเป็นงบประมาณแบบขาดดุล แต่ต้องขาดดุลน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น จึงใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจลดลง จากกรอบงบประมาณปี 2560 วงเงิน 2.9 ล้านล้านบาท ส่วนปี 2561 จะมากกว่า 3 ล้านล้านบาทหรือไม่ ต้องประเมินรายได้รัฐบาลให้ชัดเจน มุ่งเน้นรับฟังความต้องการของท้องถิ่น และรองรับสังคมผู้สูงอายุ ผ่านกลไกต่าง ๆ ทั้งกองทุนเอสเอ็มอี กองทุนสวัสดิการภาครัฐ เพื่อเน้นป้องกันด้านสุขภาพสำหรับคนวัยชรา รวมทั้งเน้นจัดสรรงบประมาณพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานคุณภาพ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจหลายด้าน ทั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการแรงงานมีคุณภาพและศักยภาพนับล้านคน เพราะการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเพียงอย่างเดียวจะมีความเสี่ยง ขณะที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมการลงทุนจากนโบยายไทยแลนด์ 4.0 จึงต้องการแรงงานฝีมือจำนวนมาก