เมื่อเวลา 07.40 น. (1 ธ.ค.) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เดินทางเข้ากราบสักการะพระพุทธคมนาคมบพิธ พระพุทธรูปและสิ่งสักศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงคมนาคม เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสเข้าปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมวันแรก
นายไพรินทร์ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้น จะทราบความชัดเจนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการว่ารับผิดชอบหน่วยงานใดบ้างภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม สำหรับแนวทางการบริหารงานหลังได้รับมอบหมายให้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เชื่อว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการบริหารงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทำให้มั่นใจว่าจะมีส่วนที่มาทำประโยชน์ให้กับกระทรวงคมนาคมได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนมาก เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 การพัฒนารถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รวมถึงการพัฒนาท่าเรือ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะดำเนินการมาด้วยดีแล้วก็ตาม แต่ต้องมีการเร่งรัดให้โครงการดังกล่าวดำเนินด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งพร้อมสนับสนุนและร่วมแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกับข้าราชการ นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการพื้นฐานแล้ว
นอกจากนี้ ยังจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากภาคการขนส่งทางถนนให้หมดไป โดยจะใช้ประสบการณ์จากการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะจากพนักงานขับรถ ส่วนของการแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มองว่าไม่ใช่เรื่องยากหากจะแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด
นายไพรินทร์ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้น จะทราบความชัดเจนถึงภารกิจที่ต้องดำเนินการว่ารับผิดชอบหน่วยงานใดบ้างภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม สำหรับแนวทางการบริหารงานหลังได้รับมอบหมายให้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เชื่อว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการบริหารงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทำให้มั่นใจว่าจะมีส่วนที่มาทำประโยชน์ให้กับกระทรวงคมนาคมได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนมาก เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 การพัฒนารถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รวมถึงการพัฒนาท่าเรือ ซึ่งที่ผ่านมาแม้จะดำเนินการมาด้วยดีแล้วก็ตาม แต่ต้องมีการเร่งรัดให้โครงการดังกล่าวดำเนินด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งพร้อมสนับสนุนและร่วมแก้ไขปัญหาการทำงานร่วมกับข้าราชการ นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการพื้นฐานแล้ว
นอกจากนี้ ยังจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากภาคการขนส่งทางถนนให้หมดไป โดยจะใช้ประสบการณ์จากการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะจากพนักงานขับรถ ส่วนของการแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มองว่าไม่ใช่เรื่องยากหากจะแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด