นายศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า คืนวันที่ 3 ธันวาคมนี้ ปรากฎการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงจะเกิดในตำแหน่งใกล้โลกที่ระยะห่างประมาณ 357,973 กิโลเมตร ซึ่งจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
นอกจากนี้ ยังมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าขณะอยู่ไกลโลกมากที่สุดประมาณร้อยละ 14 และมีความสว่างมากกว่าประมาณร้อยละ 30 หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป ครั้งนี้จะเป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่ใหญ่ที่สุดในปี 2560 แต่ในวันที่ 2 มกราคม 2561 อีกหนึ่งเดือนนับจากนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงจะอยู่ใกล้โลกกว่านี้ และจะเป็นซูเปอร์ฟูลมูนที่ใหญ่ที่สุดในปี 2561
นอกจากนี้ ยังมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าขณะอยู่ไกลโลกมากที่สุดประมาณร้อยละ 14 และมีความสว่างมากกว่าประมาณร้อยละ 30 หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป ครั้งนี้จะเป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่ใหญ่ที่สุดในปี 2560 แต่ในวันที่ 2 มกราคม 2561 อีกหนึ่งเดือนนับจากนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงจะอยู่ใกล้โลกกว่านี้ และจะเป็นซูเปอร์ฟูลมูนที่ใหญ่ที่สุดในปี 2561