พล.ต.อ.รุ่งโรจน์ แสงคร้าม กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) กล่าวในการบรรยายเรื่อง "เจาะลึกร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ..." ระบุว่า ในเนื้อหากฎหมายฉบับนี้มีการระบุถึงการโยกย้าย การกำหนดบทบาทหน้าที่ และกระบวนการแต่งตั้ง เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับหน้าที่ รวมถึงการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการตำรวจด้วย
การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... เพื่อรวบรวมความคิดเห็นส่งให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความเห็นในหลายประเด็น เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ตำรวจ ยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติมหลักการในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อป้องกันการใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือกระบวนการแต่งตั้ง
ส่วนในช่วงบ่ายวันนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีการอภิปรายกลุ่มย่อย และนำเสนอข้อสรุปความคิดเห็นให้กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) พิจารณาต่อไป โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อพูดคุยหลายประเด็น เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ตำรวจ ยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความเห็นว่า คณะกรรมการ ก.ต.ช.ไม่ควรมีนักการเมืองท้องถิ่นและไม่ควรมอบหมายให้คนอื่นมาประชุมแทน ส่วนเรื่องการแต่งตั้งข้ามหน่วยควรเกิดจากความสมัครใจ
การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ... เพื่อรวบรวมความคิดเห็นส่งให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความเห็นในหลายประเด็น เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ตำรวจ ยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติมหลักการในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อป้องกันการใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบที่เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือกระบวนการแต่งตั้ง
ส่วนในช่วงบ่ายวันนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีการอภิปรายกลุ่มย่อย และนำเสนอข้อสรุปความคิดเห็นให้กับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) พิจารณาต่อไป โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม เพื่อพูดคุยหลายประเด็น เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ให้เป็นองค์กรกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ตำรวจ ยกเลิกอำนาจการคัดเลือกแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความเห็นว่า คณะกรรมการ ก.ต.ช.ไม่ควรมีนักการเมืองท้องถิ่นและไม่ควรมอบหมายให้คนอื่นมาประชุมแทน ส่วนเรื่องการแต่งตั้งข้ามหน่วยควรเกิดจากความสมัครใจ