พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการคัดเลือกผู้ต้องขัง ซึ่งต้องโทษผลิตอาวุธปืนไทยประดิษฐ์ ดัดแปลงสิ่งเทียมอาวุธปืน เพื่อคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมก่อนส่งไปช่วยงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ว่า ผลการสำรวจจากเรือนจำและทัณฑสถาน 142 แห่ง พบผู้ต้องขังมีประวัติต้องโทษผลิตอาวุธปืนและความผิดเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับการดัดแปลงสิ่งเทียมอาวุธปืนทั้งสิ้น 225 คน จึงได้หารือเบื้องต้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร โดยตกลงให้คัดเลือกให้เหลือเฉพาะรายที่ผลิตปืนได้จริงเท่านั้น ซึ่งผลการคัดกรองได้นักโทษจำนวน 30 คน ขั้นตอนต่อไปนักจิตวิทยาจะเข้ามาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อประเมินสภาพจิตใจและพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหลังเข้ารับการอบรมและพ้นโทษออกไป ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะไม่ประพฤติตัวเกเรหรือเป็นภัยต่อสังคม
นอกจากนี้ จะต้องเป็นนักโทษที่ใกล้ครบกำหนดโทษ และไม่ใช่ผู้ที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ โดยสรุปตั้งเป้าที่จะคัดกรองนักโทษที่จะเข้ารับการอบรมส่งเสริมทักษะการผลิตอาวุธให้เหลือเพียง 20 คนเท่านั้น
สำหรับนักโทษที่ผ่านการคัดกรองให้เข้ารับการฝึกทักษะด้านการผลิตอาวุธ จะถูกโอนตัวมาจากเรือนจำต่าง ๆ มาคุมขังรวมกันไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง โดยขั้นตอนการฝึกในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก จะเป็นการอบรมภาคทฤษฎี ครูฝึกทหารจะเดินทางมายังเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อถ่ายทอดทฤษฎีให้กับผู้ต้องขังทั้ง 20 ราย ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปจะเป็นการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องเข้าไปใช้สถานที่และอุปกรณ์จริง ผู้คุมจะเบิกตัวนักโทษ 20 ราย ออกไปรับการฝึกอบรมในค่ายทหาร แบบเช้าไป-เย็นกลับ จากนั้นเมื่อสำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมและนักโทษได้รับโทษจำคุกครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาแล้ว ส่วนราชการจะจัดหางานให้กับผู้พ้นโทษเพื่อใช้ความรู้เดิมและทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและทางราชการต่อไป
นอกจากนี้ จะต้องเป็นนักโทษที่ใกล้ครบกำหนดโทษ และไม่ใช่ผู้ที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ โดยสรุปตั้งเป้าที่จะคัดกรองนักโทษที่จะเข้ารับการอบรมส่งเสริมทักษะการผลิตอาวุธให้เหลือเพียง 20 คนเท่านั้น
สำหรับนักโทษที่ผ่านการคัดกรองให้เข้ารับการฝึกทักษะด้านการผลิตอาวุธ จะถูกโอนตัวมาจากเรือนจำต่าง ๆ มาคุมขังรวมกันไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง โดยขั้นตอนการฝึกในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก จะเป็นการอบรมภาคทฤษฎี ครูฝึกทหารจะเดินทางมายังเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อถ่ายทอดทฤษฎีให้กับผู้ต้องขังทั้ง 20 ราย ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปจะเป็นการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องเข้าไปใช้สถานที่และอุปกรณ์จริง ผู้คุมจะเบิกตัวนักโทษ 20 ราย ออกไปรับการฝึกอบรมในค่ายทหาร แบบเช้าไป-เย็นกลับ จากนั้นเมื่อสำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมและนักโทษได้รับโทษจำคุกครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาแล้ว ส่วนราชการจะจัดหางานให้กับผู้พ้นโทษเพื่อใช้ความรู้เดิมและทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและทางราชการต่อไป