ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า จากตัวเลขเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ยังคงมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตลอดช่วง 6 ไตรมาสที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ 78.4 ในไตรมาส 2/2560 จากระดับร้อยละ 78.7 ในไตรมาส 1/2560 แม้ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2/2560 จะขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 11.603 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา แต่เป็นอัตราการเพิ่มที่น้อยลงจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนสัญญาณที่ระมัดระวังของทั้ง 2 ด้าน โดยในฝั่งของสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ก็ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ทั้งในส่วนของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อดูแลประเด็นด้านคุณภาพของสินเชื่อ ขณะที่ ในฝั่งของครัวเรือน ก็น่าจะชะลอการก่อหนี้ เนื่องจากมีภาระหนี้อยู่ในระดับที่สูงอยู่ก่อนแล้ว
สำหรับแนวโน้มในปี 2560 จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าจีดีพีอย่างต่อเนื่อง ทำศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2560 จะชะลอลงไปอยู่ที่ใกล้กรอบล่างของช่วงประมาณการที่ร้อยละ 78.0-79.0 ต่อจีดีพี อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2560 จะลดต่ำลงจากปี 2559 แต่ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ก็น่าจะยังสะท้อนว่า กำลังซื้อและบรรยากาศของการใช้จ่ายภาคเอกชนอาจมีกรอบการฟื้นตัวที่ค่อนข้างจำกัด ขณะที่การสร้างวินัยในการการก่อหนี้ก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการลดความเปราะบางทางการเงินให้กับภาคครัวเรือนและเศรษฐกิจไทยในภาพรวม
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนสัญญาณที่ระมัดระวังของทั้ง 2 ด้าน โดยในฝั่งของสถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ก็ยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ทั้งในส่วนของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อดูแลประเด็นด้านคุณภาพของสินเชื่อ ขณะที่ ในฝั่งของครัวเรือน ก็น่าจะชะลอการก่อหนี้ เนื่องจากมีภาระหนี้อยู่ในระดับที่สูงอยู่ก่อนแล้ว
สำหรับแนวโน้มในปี 2560 จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าจีดีพีอย่างต่อเนื่อง ทำศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2560 จะชะลอลงไปอยู่ที่ใกล้กรอบล่างของช่วงประมาณการที่ร้อยละ 78.0-79.0 ต่อจีดีพี อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2560 จะลดต่ำลงจากปี 2559 แต่ภาระหนี้สินของครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ก็น่าจะยังสะท้อนว่า กำลังซื้อและบรรยากาศของการใช้จ่ายภาคเอกชนอาจมีกรอบการฟื้นตัวที่ค่อนข้างจำกัด ขณะที่การสร้างวินัยในการการก่อหนี้ก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการลดความเปราะบางทางการเงินให้กับภาคครัวเรือนและเศรษฐกิจไทยในภาพรวม