นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 ระบุว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการที่สำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... ให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก(XDR-TB)เป็นโรคติดต่ออันตราย ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยมอบให้กรมควบคุมโรค นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานรองรับเมื่อประกาศฉบับนี้ มีผลบังคับใช้
การประกาศให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคนี้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานสากล รวมถึงการนำผู้สัมผัสโรค มารับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลได้ทันที โดยการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นของผู้ป่วยเพื่อประโยชน์ในการควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ลดการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในหมู่ประชาชน ตลอดจนเพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาและตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ
ทั้งนี้ จากรายงานองค์การอนามัยโลก ปี 2559 พบว่า ประเทศไทยติดอันดับในกลุ่ม 14 ประเทศที่มีปัญหาภาระวัณโรคสูงทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน องค์การอนามัยโลก คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย มีประมาณ 120,000 รายมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) 4,500 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) 450 ราย ค่ายารักษาผู้ป่วย XDR-TBสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย แต่มีอัตราการรักษาหายต่ำ ผู้ป่วยXDR-TB มักมีประวัติการรักษาไม่สม่ำเสมอหรือขาดการรักษามาก่อน ทำให้เกิดการดื้อยาเพิ่มขึ้นถึงระดับรุนแรงมาก
การประกาศให้วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคนี้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานสากล รวมถึงการนำผู้สัมผัสโรค มารับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลได้ทันที โดยการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นของผู้ป่วยเพื่อประโยชน์ในการควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ลดการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคในหมู่ประชาชน ตลอดจนเพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาและตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และสนับสนุนช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ
ทั้งนี้ จากรายงานองค์การอนามัยโลก ปี 2559 พบว่า ประเทศไทยติดอันดับในกลุ่ม 14 ประเทศที่มีปัญหาภาระวัณโรคสูงทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน องค์การอนามัยโลก คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย มีประมาณ 120,000 รายมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) 4,500 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) 450 ราย ค่ายารักษาผู้ป่วย XDR-TBสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย แต่มีอัตราการรักษาหายต่ำ ผู้ป่วยXDR-TB มักมีประวัติการรักษาไม่สม่ำเสมอหรือขาดการรักษามาก่อน ทำให้เกิดการดื้อยาเพิ่มขึ้นถึงระดับรุนแรงมาก