พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Energy 4.0 โอกาสของอุตสาหกรรมไทย" ในงานสัมมนาวิชาการ Energy Symposium 2017 ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะพัฒนาภาคพลังงานไทย โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0ของรัฐบาล ด้วยการพัฒนาภายใต้โครงการต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศ ที่ตั้งเป้าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 1.2 ล้านคัน ในปี 2579 พร้อมทั้งมีสถานีชาร์จไฟฟ้า 150 สถานี ตามหัวเมืองใหญ่ของประเทศ รวมถึงยังมีโครงการสมาร์ทซิตี้ โครงการพลังงานทดแทนต่าง ๆ ที่เป็นแผนระยะยาว 20 ปี โดยการลงทุนต่าง ๆ ได้พิจารณาถึงต้นทุนที่จะต้องคุ้มค่าและคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ในช่วงแรกของการพัฒนาพลังงานจะมีการใช้ต้นทุนสูง แต่ทั้งหมดนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ Energy 4.0 ของไทยไปสู่ความสมบูรณ์ในอนาคต ขณะที่ภาพรวมมูลค่าการลงทุนของภาคพลังงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนในปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 5 - 6 แสนล้านบาท ซึ่งมองว่านับเป็นโอกาสดีของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะต้องศึกษาการลงทุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้สำรวจข้อมูลผู้ที่จะขายไฟฟ้าในโครงการโซลาร์รูฟทอปแล้ว เพื่อรวบรวมข้อมูลนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ครั้งต่อไป พร้อมคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีความชัดเจนเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ ดังกล่าวมากขึ้น ที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรมสามารถขายไฟที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับรัฐได้ แต่ทั้งนี้เบื้องต้นราคารับซื้อไฟฟ้าอาจเป็นอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทผู้ขาย อาทิ ประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีโอกาสได้รับราคาซื้อมากกว่าประเภทโรงงานอุตสาหกรรม แต่ราคาจะต้องต่ำกว่า 2.60 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นราคาที่รัฐกำหนดไว้
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ในช่วงแรกของการพัฒนาพลังงานจะมีการใช้ต้นทุนสูง แต่ทั้งหมดนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ Energy 4.0 ของไทยไปสู่ความสมบูรณ์ในอนาคต ขณะที่ภาพรวมมูลค่าการลงทุนของภาคพลังงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนในปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 5 - 6 แสนล้านบาท ซึ่งมองว่านับเป็นโอกาสดีของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะต้องศึกษาการลงทุน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้สำรวจข้อมูลผู้ที่จะขายไฟฟ้าในโครงการโซลาร์รูฟทอปแล้ว เพื่อรวบรวมข้อมูลนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ครั้งต่อไป พร้อมคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีความชัดเจนเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ ดังกล่าวมากขึ้น ที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรมสามารถขายไฟที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับรัฐได้ แต่ทั้งนี้เบื้องต้นราคารับซื้อไฟฟ้าอาจเป็นอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทผู้ขาย อาทิ ประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีโอกาสได้รับราคาซื้อมากกว่าประเภทโรงงานอุตสาหกรรม แต่ราคาจะต้องต่ำกว่า 2.60 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นราคาที่รัฐกำหนดไว้