นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากกรณีตัวแทนสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน จ.ระยอง ร้องเรียนปัญหากองขยะอุตสาหกรรมจากโรงงานแร่ทองแดงในพื้นที่ อ.นิคมพัฒนา ที่ถูกปิดกิจการไปแล้วกว่า 10 ปี แต่กองขยะอุตสาหกรรมราว 40,000 ตัน ยังถูกทิ้งไว้กลางแจ้ง ส่งผลให้เกิดการชะล้างของโลหะหนักในช่วงหน้าฝน แพร่กระจายและปนเปื้อนลงในลำคลองสาธารณะ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ตรวจสอบแล้ว พบว่ากากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นของ บริษัท ไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันกรมบังคับคดีได้ทำการยึดทรัพย์สินต่างๆ ภายในโรงงาน รวมทั้งกากอุตสาหกรรม ตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยกรมบังคับคดีได้มีหนังสือมอบอำนาจให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยองเป็นผู้ดำเนินการและจัดประมูลหาผู้รับดำเนินการกองขยะดังกล่าวตามระเบียบพัสดุ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างรอความเห็นชอบจากกรมบังคับคดี
ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เร่งประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เพื่อให้การจัดการกากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและตามหลักวิชาการต่อไป
ปัจจุบันมีโรงงานเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42และอยู่ระหว่างการทบทวนวิธีการประเมินปริมาณกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าระบบเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ การปรับแก้ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ได้เสนอเพิ่มบทลงโทษสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการจัดการกากอุตสาหกรรมและการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม จากเดิมที่มีบทลงโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท เสนอเพิ่มโทษทั้งจำคุกและปรับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เร่งประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เพื่อให้การจัดการกากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและตามหลักวิชาการต่อไป
ปัจจุบันมีโรงงานเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42และอยู่ระหว่างการทบทวนวิธีการประเมินปริมาณกากอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น รวมทั้งเร่งรัดให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าระบบเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ การปรับแก้ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ได้เสนอเพิ่มบทลงโทษสำหรับโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการจัดการกากอุตสาหกรรมและการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม จากเดิมที่มีบทลงโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท เสนอเพิ่มโทษทั้งจำคุกและปรับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม