นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำ สภาวะอากาศ และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรพบว่า พายุโซนร้อนปาข่าได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น และคาดว่าในวันนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณตอนเหนือของประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 28 สิงหาคม - 2 กันยายน มีฝนตกเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางแห่งในทั่วทุกภาคของประเทศ
ทั้งนี้ ปภ.จึงได้ประสาน 50 จังหวัด แยกเป็นภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี
ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ 13 จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม
ทั้งนี้ หากมีจังหวัดใดฝนตกหนักถึงหนักมากปริมาณน้ำฝนสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัย หรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว พร้อมดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ปภ.จึงได้ประสาน 50 จังหวัด แยกเป็นภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี และลพบุรี
ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ 13 จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม
ทั้งนี้ หากมีจังหวัดใดฝนตกหนักถึงหนักมากปริมาณน้ำฝนสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัย หรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว พร้อมดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด