นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า การส่งออกไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 จากเดิมคาดว่าโตร้อยละ 3.1 แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกส่งออกขยายตัวได้สูงถึง ร้อยละ 7 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน ขณะที่สินค้าหลักทั้งยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ยังเติบโตไม่เต็มที่ ดังนั้นการส่งออกของไทยจึงยังขยายตัวได้ต่ำสุดในภูมิภาคอาเซียน ที่ส่วนใหญ่ขยายตัวเกินร้อยละ 10 ซึ่งการที่จะทำให้การส่งออกของไทยกลับมาขยายตัวเต็มศักยภาพ ต้องมีการพัฒนาสินค้าส่งออกให้มีนวัตกรรม และอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของตลาดโลก โดยปัจจัยสำคัญจะต้องมีการลงทุนจากภาคเอกชน ซึ่งในใตรมาส 1/60 การลงทุนภาคเอกชนยังติดลบ ร้อยละ 1.1 และคาดว่าในไตรมาส 2 จะติดลบใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 1 ซึ่งการลงทุนจะเกิดขึ้นจะต้องมีความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ เพื่อให้นักลงทุนเชื่อมั่น โดยคาดการณ์ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ได้
สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7 จากต้นปีที่ผ่านมานั้น ยอมรับว่า มีผลต่อการส่งออกของไทย แต่ไม่ใช้ปัจจัยหลัก โดยผู้ส่งออกต้องปรับตัวพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรม เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักค่าเงิน โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น มาอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ในระยะสั้น เพราะยังมีเงินทุนไหลเข้า จากความไม่ชัดเจนของนโยบายของสหรัฐ แต่มองว่าจะกลับมาอ่อนค่าได้ถึง 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายปี เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ จะลดขนาดงบดุล และมีความชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินทุนไหลออกจากไทย
สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7 จากต้นปีที่ผ่านมานั้น ยอมรับว่า มีผลต่อการส่งออกของไทย แต่ไม่ใช้ปัจจัยหลัก โดยผู้ส่งออกต้องปรับตัวพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรม เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักค่าเงิน โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น มาอยู่ที่ 32.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ในระยะสั้น เพราะยังมีเงินทุนไหลเข้า จากความไม่ชัดเจนของนโยบายของสหรัฐ แต่มองว่าจะกลับมาอ่อนค่าได้ถึง 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายปี เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ จะลดขนาดงบดุล และมีความชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้เงินทุนไหลออกจากไทย