ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับกระแสสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้น และนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่การดำเนินการส่งเสริมจากทุกภาคส่วนถือว่ามีสัญญาณสดใสอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ที่มีนโยบายกองทุนและโครงการในการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นในปริมาณมากตามภาคต่าง ๆ ทั้งยังได้สร้างความตระหนักและการรับรู้ มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพมากขึ้น รวมถึงมาตรการจูงใจนักลงทุน ความร่วมมือพัฒนาร่วมกันกับองค์กรต่างประเทศ ตลอดจนภาคเอกชนที่หันมาแข่งขันกันด้วยระบบดิจิตอล จนเกิดเป็นโอกาสการร่วมทุนกับสตาร์ทอัพ เพื่อให้เกิดแนวความคิดที่สร้างสรรค์และนวัตกรรมขั้นสูงที่แปลกใหม่กลับสู่การพัฒนาองค์กร
ทั้งนี้ พบว่า ในปี 2560 มีการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพทั่วไปกว่า 8,000 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วง 2-3 ปีก่อน ที่มีเพียงแค่ระดับหลัก 100 ราย หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 ขณะที่สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้จริงอยู่ที่ประมาณ 1,500 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ ช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ถึง 7,500 อัตรา หรือคิดเป็นสัดส่วน 1:5
ทั้งนี้ พบว่า ในปี 2560 มีการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพทั่วไปกว่า 8,000 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วง 2-3 ปีก่อน ที่มีเพียงแค่ระดับหลัก 100 ราย หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 80 ขณะที่สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้จริงอยู่ที่ประมาณ 1,500 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ ช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ถึง 7,500 อัตรา หรือคิดเป็นสัดส่วน 1:5