นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ตกในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเกิดฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลางหลายแห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงสั่งการให้สำนักงานชลประทานและโครงการชลประทานที่รับผิดชอบในแต่พื้นที่ เร่งดำเนินการลดระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำไหลเข้า (Inflow) มากกว่าความจุของอ่างฯ รวมถึงอ่างเก็บน้ำที่มีพื้นที่รับน้ำฝนขนาดใหญ่ (Watershed area) เมื่อฝนตกหนักจะมี Inflow เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ำสูงสุด (upper rule curve) 11 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา อ่างฯแควน้อยบำรุงแดน อ่างฯน้ำอูน อ่างฯห้วยหลวง อ่างฯน้ำพุง อ่างฯจุฬาภรณ์ อ่างฯอุบลรัตน์ อ่างฯลำปาว อ่างฯสิรินธร อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ และอ่างฯทับเสลา ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ระหว่างร้อยละ 80-100 จำนวน 148 แห่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่าร้อยละ 100 จำนวน 89 แห่ง ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และ ขนาดกลาง มีปริมาณน้ำรวม 48,216 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 64 มากกว่าปี 2559 รวม 13,605 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำได้อีก 26,998 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีระดับมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างเก็บน้ำ หลายอ่างได้จัดทำการลักน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการระบายอีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากการระบายน้ำปกติของตัวอ่าง ให้เหลือปริมาณน้ำต่ำกว่า ร้อยละ 80 อาทิ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำสวย และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำแห้ว จังหวัดเลย อ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำห้วยเรือ ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร เป็นต้น โดยไม่ให้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการน้ำ ติดตาม วิเคราะห์ และเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และประสานเรื่องข้อมูลและการแจ้งเตือนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ บรรเทาและแก้ไขสถานการณ์ ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ในช่วงฤดูฝน
ทั้งนี้ ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ำสูงสุด (upper rule curve) 11 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา อ่างฯแควน้อยบำรุงแดน อ่างฯน้ำอูน อ่างฯห้วยหลวง อ่างฯน้ำพุง อ่างฯจุฬาภรณ์ อ่างฯอุบลรัตน์ อ่างฯลำปาว อ่างฯสิรินธร อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ และอ่างฯทับเสลา ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ระหว่างร้อยละ 80-100 จำนวน 148 แห่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่าร้อยละ 100 จำนวน 89 แห่ง ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และ ขนาดกลาง มีปริมาณน้ำรวม 48,216 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 64 มากกว่าปี 2559 รวม 13,605 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำได้อีก 26,998 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีระดับมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างเก็บน้ำ หลายอ่างได้จัดทำการลักน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการระบายอีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากการระบายน้ำปกติของตัวอ่าง ให้เหลือปริมาณน้ำต่ำกว่า ร้อยละ 80 อาทิ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำสวย และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำแห้ว จังหวัดเลย อ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำห้วยเรือ ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร เป็นต้น โดยไม่ให้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ พร้อมให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการน้ำ ติดตาม วิเคราะห์ และเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และประสานเรื่องข้อมูลและการแจ้งเตือนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ บรรเทาและแก้ไขสถานการณ์ ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ในช่วงฤดูฝน