นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 - 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 40 จังหวัด รวม 147 อำเภอ 585 ตำบล 2,728 หมู่บ้าน 1 ชุมชน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 19 จังหวัด แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ มุกดาหาร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ภาคเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร พระนครศรีอยุธยา สุโขทัย และลพบุรี ภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ชุมพร โดยสถานการณ์ในภาพรวมระดับน้ำทรงตัว และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นจังหวัดสกลนคร ที่ระดับน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้น้ำจากเทือกเขาภูพานไหลหลากลงมา ประกอบกับอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ปริมาณน้ำสูงกว่าระดับกักเก็บน้ำ ทำให้น้ำไหลหลากท่วมพื้นที่รวม 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอเต่างอย อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอพรรณานิคม และอำเภออากาศอำนวย ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,863 ครัวเรือน 23,538 คน อีกทั้งน้ำท่วมทางเข้าสนามบินและรันเวย์ จึงต้องประกาศปิดสนามบินสกลนครชั่วคราว ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับหน่วยทหาร กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็ว ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำผ่านหนองหาน ลงสู่ลำน้ำก่ำ ออกไปยังแม่น้ำโขง พร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) จำนวน 78 ราย เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถสูบน้ำระยะไกล รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุก เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการปฏิบัติการกู้วิกฤตอุทกภัย รวมถึงจัดวางแนวกระสอบทรายเป็นคันกั้นน้ำรอบล้อมสนามบินสกลนคร พร้อมสูบน้ำออกจากรันเวย์ ตลอดจนจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ณ สนามกีฬาในร่ม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร รองรับการอพยพของผู้ประสบภัย พร้อมจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย จากกรณีกำแพงกันน้ำบริเวณวัดไทยชุมพลรั่ว 5 จุด ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมเขตชุมชนเทศบาลเมืองสุโขทัยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งแก้ไขปัญหาโดยปิดช่องทางน้ำลอด ด้วยการนำบิ๊กแบ็กและแบริเออร์คอนกรีตมาวางกั้นจุดที่น้ำรั่วซึม พร้อมทั้งเสริมความแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำตลอดแนวริมตลิ่ง รวมถึงใช้ระบบชลประทานในการตัดยอดน้ำ ไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ควบคู่กับการเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วมขัง เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในเขตชุมชนกลับสู่แม่น้ำยม ปัจจุบันสามารถอุดรอยรั่วได้ทั้ง 5 จุด ระดับน้ำเริ่มลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังคงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับหน่วยทหาร กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลายโดยเร็ว ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำผ่านหนองหาน ลงสู่ลำน้ำก่ำ ออกไปยังแม่น้ำโขง พร้อมระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) จำนวน 78 ราย เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถสูบน้ำระยะไกล รถผลิตน้ำดื่ม รถบรรทุก เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการปฏิบัติการกู้วิกฤตอุทกภัย รวมถึงจัดวางแนวกระสอบทรายเป็นคันกั้นน้ำรอบล้อมสนามบินสกลนคร พร้อมสูบน้ำออกจากรันเวย์ ตลอดจนจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ณ สนามกีฬาในร่ม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร รองรับการอพยพของผู้ประสบภัย พร้อมจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดสุโขทัย จากกรณีกำแพงกันน้ำบริเวณวัดไทยชุมพลรั่ว 5 จุด ส่งผลให้น้ำไหลเข้าท่วมเขตชุมชนเทศบาลเมืองสุโขทัยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งแก้ไขปัญหาโดยปิดช่องทางน้ำลอด ด้วยการนำบิ๊กแบ็กและแบริเออร์คอนกรีตมาวางกั้นจุดที่น้ำรั่วซึม พร้อมทั้งเสริมความแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำตลอดแนวริมตลิ่ง รวมถึงใช้ระบบชลประทานในการตัดยอดน้ำ ไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ควบคู่กับการเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วมขัง เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในเขตชุมชนกลับสู่แม่น้ำยม ปัจจุบันสามารถอุดรอยรั่วได้ทั้ง 5 จุด ระดับน้ำเริ่มลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังคงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของแนวคันกั้นน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์อุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป