สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวน 1,019 คน เรื่อง "10 ข้อ การสร้างความปรองดอง ในทัศนะของประชาชน" จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองและขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยได้ดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและจัดทำสรุปเป็นร่างสัญญาประชาคม ซึ่งมีความคิดเห็นรวม 10 ข้อ ที่คนไทยพึงปฏิบัติร่วมกัน
จากการสำรวจพบว่า การสร้างความปรองดองของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 71.44 ระบุว่า อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ประชาชนรักใคร่สามัคคี ร้อยละ 60.16 มองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ถึงจะเห็นผลช้า แต่อยากให้ทำต่อไป ร้อยละ 58.00 ระบุว่า ควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็น ขณะที่ร้อยละ 52.99 เห็นว่ายังมีความขัดแย้ง ไม่น่าจะทำสำเร็จ และร้อยละ 47.20 ระบุว่า หากทำสำเร็จ จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาและมีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม สำหรับกระบวนการขั้นตอนในการสร้างความปรองดองที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 73.78 ระบุว่า การดำเนินการยังช้าอยู่ เพราะยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม บ้านเมืองยังมีความขัดแย้ง และนักการเมืองยังทะเลาะเบาะแว้ง ขณะที่ร้อยละ 26.22 ระบุว่าดำเนินการได้รวดเร็วดีแล้ว เพราะเป็นไปตามโรดแมป มีความคืบหน้า รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมีการประชุมเป็นระยะ
สำหรับ 10 อันดับสัญญาประชาคม ที่ประชาชนเห็นว่าควรเร่งดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม (ร้อยละ 71.85) เคารพเชื่อมั่นและปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้อยละ 69.97) ร่วมกันสร้างบรรยากาศของความสามัคคีปรองดอง (ร้อยละ 68.69) น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้กับการดำรงชีวิต (ร้อยละ 67.42) สนับสนุนส่งเสริมคุณภาพชีวิต การสาธารณสุข การศึกษา อย่างทั่วถึงเท่าเทียม (ร้อยละ 63.20) ร่วมมือกันสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 56.13) การรับรู้ข่าวสารอย่างรอบคอบ (ร้อยละ 55.64) สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน (ร้อยละ 50.44) การส่งเสริมให้สังคมมีมาตรฐานสากล (ร้อยละ 49.66) และให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ (ร้อยละ 47.69)
ทั้งนี้ การจะสร้างความปรองดองให้สำเร็จ ประชาชนร้อยละ 78.70 ระบุว่า ต้องลดทิฐิ เปิดใจ รับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 66.63 ระบุ ต้องใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ร้อยละ 63.59 ระบุว่า ต้องร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกัน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 62.71 ระบุว่า ควรรณรงค์ กระตุ้นให้ทุกคนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของความปรองดอง และร้อยละ 58.78 ระบุว่า ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผล
จากการสำรวจพบว่า การสร้างความปรองดองของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 71.44 ระบุว่า อยากเห็นบ้านเมืองสงบ ประชาชนรักใคร่สามัคคี ร้อยละ 60.16 มองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ถึงจะเห็นผลช้า แต่อยากให้ทำต่อไป ร้อยละ 58.00 ระบุว่า ควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็น ขณะที่ร้อยละ 52.99 เห็นว่ายังมีความขัดแย้ง ไม่น่าจะทำสำเร็จ และร้อยละ 47.20 ระบุว่า หากทำสำเร็จ จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาและมีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม สำหรับกระบวนการขั้นตอนในการสร้างความปรองดองที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ประชาชนร้อยละ 73.78 ระบุว่า การดำเนินการยังช้าอยู่ เพราะยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม บ้านเมืองยังมีความขัดแย้ง และนักการเมืองยังทะเลาะเบาะแว้ง ขณะที่ร้อยละ 26.22 ระบุว่าดำเนินการได้รวดเร็วดีแล้ว เพราะเป็นไปตามโรดแมป มีความคืบหน้า รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมีการประชุมเป็นระยะ
สำหรับ 10 อันดับสัญญาประชาคม ที่ประชาชนเห็นว่าควรเร่งดำเนินการมากที่สุด ได้แก่ ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม (ร้อยละ 71.85) เคารพเชื่อมั่นและปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้อยละ 69.97) ร่วมกันสร้างบรรยากาศของความสามัคคีปรองดอง (ร้อยละ 68.69) น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้กับการดำรงชีวิต (ร้อยละ 67.42) สนับสนุนส่งเสริมคุณภาพชีวิต การสาธารณสุข การศึกษา อย่างทั่วถึงเท่าเทียม (ร้อยละ 63.20) ร่วมมือกันสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 56.13) การรับรู้ข่าวสารอย่างรอบคอบ (ร้อยละ 55.64) สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน (ร้อยละ 50.44) การส่งเสริมให้สังคมมีมาตรฐานสากล (ร้อยละ 49.66) และให้ความร่วมมือและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ (ร้อยละ 47.69)
ทั้งนี้ การจะสร้างความปรองดองให้สำเร็จ ประชาชนร้อยละ 78.70 ระบุว่า ต้องลดทิฐิ เปิดใจ รับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน ร้อยละ 66.63 ระบุ ต้องใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ไม่สองมาตรฐาน ร้อยละ 63.59 ระบุว่า ต้องร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกัน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 62.71 ระบุว่า ควรรณรงค์ กระตุ้นให้ทุกคนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของความปรองดอง และร้อยละ 58.78 ระบุว่า ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผล