นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินกา ทำให้เกิดฝนตกมากขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดปริมาณน้ำฝนได้มากกว่า 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้น และชั้นดินอุ้มน้ำไว้มาก อาจทำให้เกิดดินถล่ม ดินไหล และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสาน 15 จังหวัด แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และนครราชสีมา ให้ศูนย์ ปภ.เขต และสำนักงาน ปภ.จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก พร้อมจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศ เพิ่มความถี่ในการตรวจวัดปริมาณฝน สังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ จัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย และติดตั้งป้ายเตือนบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัยในช่วงฝนตกหนัก ผ่านวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เครือช่ายวิทยุสมัครเล่น สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี สื่อสังคมออนไลน์
นายฉัตรชัย กล่าวว่า กรณีมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ปริมาณน้ำฝนสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัยหรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนปฏิบัติการฯ แผนเผชิญเหตุของอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากสถานการณ์รุนแรงเกินศักยภาพ ให้รายงานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที
นายฉัตรชัย กล่าวว่า กรณีมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ปริมาณน้ำฝนสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรต่อวัน ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปยังสถานที่ปลอดภัยหรือจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนปฏิบัติการฯ แผนเผชิญเหตุของอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากสถานการณ์รุนแรงเกินศักยภาพ ให้รายงานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที