นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน -2 กรกฎาคมนี้ พบว่า ประชาชนจะออกไปทำบุญไหว้พระเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.1 เมื่อเทียบกับช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สำหรับจำนวนเงินที่ใช้ในการทำบุญเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.6 โดยกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.5 ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.9 การใช้เงินเฉลี่ยคนละ 5,355.6 บาท
ส่วนแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในวันอาสาฬหบูบาและวันเข้าพรรษา ร้อยละ 55 ระบุว่า จากเงินเดือน ร้อยละ 31.7 จากเงินออม และร้อยละ 11.7 ระบุว่า โบนัส รายได้พิเศษ ด้านปริมาณการซื้อของจำนวนชิ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.4 ประชาชนยังเห็นว่า ความคึกคักต่าง ๆ ของกิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้วจะคึกคักมากกว่า โดยคาดว่าอาสาฬหบูชาปีนี้จะมีเงินสะพัด 6,222.37 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี และขยายตัวร้อยละ 7.7 หากรวมธุรกิจท่องเที่ยวด้วยแล้ว จะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนประเด็นปัญหาเรื่องเงินทอนวัด ไม่ส่งผลกระทบส่วนใหญ่เห็นว่า เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อย
ส่วนแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในวันอาสาฬหบูบาและวันเข้าพรรษา ร้อยละ 55 ระบุว่า จากเงินเดือน ร้อยละ 31.7 จากเงินออม และร้อยละ 11.7 ระบุว่า โบนัส รายได้พิเศษ ด้านปริมาณการซื้อของจำนวนชิ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.4 ประชาชนยังเห็นว่า ความคึกคักต่าง ๆ ของกิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้วจะคึกคักมากกว่า โดยคาดว่าอาสาฬหบูชาปีนี้จะมีเงินสะพัด 6,222.37 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 7 ปี และขยายตัวร้อยละ 7.7 หากรวมธุรกิจท่องเที่ยวด้วยแล้ว จะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนประเด็นปัญหาเรื่องเงินทอนวัด ไม่ส่งผลกระทบส่วนใหญ่เห็นว่า เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อย