พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วยตัวแทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมชี้แจงแผนจัดการจราจรการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งคาดว่าจะกระทบการจราจรตั้งแต่หน้าศูนย์วัฒนธรรม แยกพระราม 9 แยกรามคำแหง และตลอดแนวถนนรามคำแหง โดย บริษัท ช.การช่าง อยู่ระหว่างการหารือกับกรุงเทพมหานคร ในการปิดใช้ทางยกระดับรามคำแหง เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี
โดยแผนการจัดการเบื้องต้น คาดว่าจะเริ่มโยกย้ายสาธารณูปโภคช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนการก่อสร้างสถานีใต้ดิน จะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายน และเริ่มก่อสร้างตัวสถานีบนดิน ช่วงเดือนมกราคม ปี 2561
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ยอมรับว่า เป็นห่วงการจราจรถนนรามคำแหง เพราะจะมีผลกระทบต่อถนนพระราม 9 แยกดินแดง ประตูน้ำ พระราม 4 สีลม สาทร ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นในเชื่อมโยงถึงกัน จึงต้องมีการพิจารณาปรับขยายผิวทางบางส่วนและเบื้องต้นจะปิดทางลงยกระดับบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝั่งขาเข้า โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการต่างๆ ได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม จะมีการเจาะแนวเสาสำรวจ บริเวณปากซอยรามคำแหง 145 และรามคำแหง 157 ต้องกั้นแนวก่อสร้าง เกาะกลางถนน ช่วงละ 300 เมตร ซึ่งจะต้องออกข้อบังคับห้ามจอดตลอดไหล่ทางตลอดเวลา โดยหลังจากนี้จะมีการประชุมติดตามเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการก่อสร้างให้เหมาะสมและให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
โดยแผนการจัดการเบื้องต้น คาดว่าจะเริ่มโยกย้ายสาธารณูปโภคช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนการก่อสร้างสถานีใต้ดิน จะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายน และเริ่มก่อสร้างตัวสถานีบนดิน ช่วงเดือนมกราคม ปี 2561
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ยอมรับว่า เป็นห่วงการจราจรถนนรามคำแหง เพราะจะมีผลกระทบต่อถนนพระราม 9 แยกดินแดง ประตูน้ำ พระราม 4 สีลม สาทร ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นในเชื่อมโยงถึงกัน จึงต้องมีการพิจารณาปรับขยายผิวทางบางส่วนและเบื้องต้นจะปิดทางลงยกระดับบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝั่งขาเข้า โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการต่างๆ ได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม จะมีการเจาะแนวเสาสำรวจ บริเวณปากซอยรามคำแหง 145 และรามคำแหง 157 ต้องกั้นแนวก่อสร้าง เกาะกลางถนน ช่วงละ 300 เมตร ซึ่งจะต้องออกข้อบังคับห้ามจอดตลอดไหล่ทางตลอดเวลา โดยหลังจากนี้จะมีการประชุมติดตามเป็นระยะ เพื่อปรับแผนการก่อสร้างให้เหมาะสมและให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด