นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า จากสถิติข้อมูลปี 2542 – 2558 มีนักการเมืองท้องถิ่นที่ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด 409 ราย แบ่งตามประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล 262 ราย เทศบาล 114 ราย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 27 ราย และกรุงเทพมหานคร 6 ราย พบว่ามีถึง 171 ราย ที่ไม่สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ เพราะพ้นจากตำแหน่งหรือลาออกก่อนถูกตรวจสอบ ป.ป.ช. จึงเสนอมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น อันเนื่องจากมีพฤติกรรมในทางทุจริต
โดยในส่วนการทำงานของ ป.ป.ช. หากชี้มูลความผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นที่พ้นจากตำแหน่งและกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ต้องส่งรายงานเอกสารพร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปยังผู้มีอำนาจถอดถอนให้ดำเนินการ และรายงานกลับมายัง ป.ป.ช. ให้รับทราบ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลรายงาน เอกสาร ความเห็นของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดนักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมด ส่งให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ขณะเดียวกัน จะปรับปรุงกฎหมาย ป.ป.ช. เพิ่มบทบัญญัติโทษทางวินัย เมื่อถูกชี้มูลความผิดหรืออยู่ในบังคับมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ทำให้ไม่สามารถกลับเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีก
นอกจากนี้ ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาข้อมูล เอกสาร ความเห็นของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อให้อำนาจนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสวบสวนและวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งหรือส่งดำเนินคดีทางแพ่งและอาญาตามกฎหมายท้องถิ่น อีกทั้งให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับส่วนท้องถิ่นและเขตปกครองพิเศษ เพิ่มบทบัญญัติ "การไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต" เพื่อกำหนดเป็นคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งจะเสนอข้อมูล เอกสารเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นที่ถูกชี้มูลความผิดไปยัง กกต. ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
โดยในส่วนการทำงานของ ป.ป.ช. หากชี้มูลความผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นที่พ้นจากตำแหน่งและกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ต้องส่งรายงานเอกสารพร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปยังผู้มีอำนาจถอดถอนให้ดำเนินการ และรายงานกลับมายัง ป.ป.ช. ให้รับทราบ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลรายงาน เอกสาร ความเห็นของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดนักการเมืองท้องถิ่นทั้งหมด ส่งให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ขณะเดียวกัน จะปรับปรุงกฎหมาย ป.ป.ช. เพิ่มบทบัญญัติโทษทางวินัย เมื่อถูกชี้มูลความผิดหรืออยู่ในบังคับมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ทำให้ไม่สามารถกลับเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีก
นอกจากนี้ ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาข้อมูล เอกสาร ความเห็นของ ป.ป.ช. ที่ชี้มูลความผิดนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อให้อำนาจนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสวบสวนและวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งหรือส่งดำเนินคดีทางแพ่งและอาญาตามกฎหมายท้องถิ่น อีกทั้งให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับส่วนท้องถิ่นและเขตปกครองพิเศษ เพิ่มบทบัญญัติ "การไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต" เพื่อกำหนดเป็นคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง อีกทั้งจะเสนอข้อมูล เอกสารเกี่ยวกับนักการเมืองท้องถิ่นที่ถูกชี้มูลความผิดไปยัง กกต. ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง