กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตั้งแต่เริ่มโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน จนถึงวันนี้ (24 มิ.ย.) มีผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาเข้ารับบริการ 3,515 ราย พร้อมย้ำว่า หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ขอให้ไปโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่ใกล้ที่สุด หรือโทรขอความช่วยเหลือ 1669 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ถึงมือหมอเร็วที่สุด เพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการให้น้อยที่สุด
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินงานตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ของรัฐบาล ที่ต้องการให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินวิกฤตทุกคน ไม่ว่าสิทธิใดก็ตาม ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการให้น้อยที่สุด โดยไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาพยาบาลในระยะเบื้องต้น 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ 1 เมษายน - 22 มิถุนายน 2560 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 3,515 ราย จากผู้ขอใช้สิทธิทั้งหมด 7,655 ราย มากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือสิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และกองทุนอื่นๆ
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามโครงการนี้ หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤต ที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ ได้แก่ 1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว 2.อาการทางสมอง มีการรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3.หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5.อวัยวะฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนินงานตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ของรัฐบาล ที่ต้องการให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินวิกฤตทุกคน ไม่ว่าสิทธิใดก็ตาม ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการให้น้อยที่สุด โดยไม่ต้องสำรองเงินค่ารักษาพยาบาลในระยะเบื้องต้น 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการ 1 เมษายน - 22 มิถุนายน 2560 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 3,515 ราย จากผู้ขอใช้สิทธิทั้งหมด 7,655 ราย มากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือสิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และกองทุนอื่นๆ
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามโครงการนี้ หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤต ที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ ได้แก่ 1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว 2.อาการทางสมอง มีการรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3.หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5.อวัยวะฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น