นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้ทำหนังสือเชิญบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท ไลน์ พลัส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปิดตัวซิมการ์ดของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหม่ในประเทศไทย ที่ชื่อว่า LINE mobile ที่จะเปิดตัวในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ หลังจาก กสทช.ได้รับการร้องเรียนเข้ามาให้ตรวจสอบการให้บริการดังกล่าวว่า เข้าข่ายลักษณะการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง (MVNO) ที่ต้องมีใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จาก กสทช. หรือเป็นเพียงการให้บริการเสริม ซึ่งหากเป็น MVNO ทางบริษัทต้องมายื่นขอใบอนุญาต แต่หากเป็นแค่บริการเสริมภายใต้แพ็กเกจต่างๆ ก็ไม่ต้องขออนุญาตจากสำนักงาน กสทช. ดังนั้น จึงได้มีหนังสือเชิญทั้ง 2 บริษัทเข้าชี้แจงเพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงในการพิจารณาเรื่องนี้
นอกจากนั้น ในวันนี้ สำนักงาน กสทช.ได้เชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้ามาหารือร่วมกันเพื่อติดตามการดำเนินการปิดเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทาง ISP ได้รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ได้รับคำสั่งศาลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จำนวน 23 คำสั่ง โดยมี URL ที่ผิดกฎหมาย 965 URL เป็นของเฟซบุ๊ก 569 URL เป็นของยูทูบ 373 URL และอื่น ๆ 23 URL ซึ่งขณะนี้ได้มีการปิดกั้นไปเกือบร้อยละ 100 แล้ว
อย่างไรก็ตาม กสทช. ได้กำชับให้ ISP เฝ้าตรวจสอบและรายงานการดำเนินงานในเรื่องนี้ตลอดเวลา สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการกับเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาที่ผิดกฎหมายขณะนี้กระทรวงดีอีเป็นผู้รับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และเป็นผู้ดำเนินการขอออกหมายศาล จากนั้นดำเนินการส่งหมายศาลตรงไปยัง Facebook หรือ Youtube หรือหรือผู้ที่กระทำผิดต่อกฎหมายโดยตรง โดยจะมีสำเนาส่งมาที่สำนักงาน กสทช. เพื่อให้สำนักงานฯ ได้ติดตามตรวจสอบกับทาง ISP อีกทางหนึ่ง
นอกจากนั้น ในวันนี้ สำนักงาน กสทช.ได้เชิญผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เข้ามาหารือร่วมกันเพื่อติดตามการดำเนินการปิดเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทาง ISP ได้รายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ได้รับคำสั่งศาลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จำนวน 23 คำสั่ง โดยมี URL ที่ผิดกฎหมาย 965 URL เป็นของเฟซบุ๊ก 569 URL เป็นของยูทูบ 373 URL และอื่น ๆ 23 URL ซึ่งขณะนี้ได้มีการปิดกั้นไปเกือบร้อยละ 100 แล้ว
อย่างไรก็ตาม กสทช. ได้กำชับให้ ISP เฝ้าตรวจสอบและรายงานการดำเนินงานในเรื่องนี้ตลอดเวลา สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการกับเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาที่ผิดกฎหมายขณะนี้กระทรวงดีอีเป็นผู้รับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และเป็นผู้ดำเนินการขอออกหมายศาล จากนั้นดำเนินการส่งหมายศาลตรงไปยัง Facebook หรือ Youtube หรือหรือผู้ที่กระทำผิดต่อกฎหมายโดยตรง โดยจะมีสำเนาส่งมาที่สำนักงาน กสทช. เพื่อให้สำนักงานฯ ได้ติดตามตรวจสอบกับทาง ISP อีกทางหนึ่ง