ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า กรมการปกครองได้รับมอบหมายในการทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาผักตบชวา ในแหล่งน้ำปิดและแหล่งน้ำเชื่อมโยง เช่น หนอง บึง คลอง โดยกำหนดพื้นที่แบ่งความรับผิดชอบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และให้นายอำเภอตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล โดยมีกรอบดำเนินการกำจัดผักตบชวาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายนนี้
ทั้งนี้ มีกลไกกำกับดูแลและบูรณาการในการปฏิบัติ คือ คณะทำงานระดับจังหวัด คณะทำงานระดับอำเภอ และตั้งชมรมคนริมน้ำ ตามดำริของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำจัดผักตบชวา โดยให้อำเภอร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท.ภาคเอกชน ประชาชน ร่วมจัดตั้งชมรมในรูปแบบประชารัฐ โดยมีหน้าที่หลักคือการร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำ ให้เป็นไปด้วยความสวยงาม ปราศจากผักตบชวาและวัชพืช
นอกจากนี้ ต้องเฝ้าระวังการบุกรุกหรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้างในคลองสาธารณะ บูรณาการจัดกิจกรรมกำจัดผักตบชวาและการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนที่อยู่ริมน้ำรับรู้ถึงผลเสียของผักตบชวา การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ เช่น ปุ๋ยจากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการตั้งชมรมคนริมน้ำแล้ว 1,075 ชมรม 16,259 คน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ คือการคมนาคมสัญจรสะดวกขึ้น สามารถพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำได้ตามเป้าหมาย ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว การเกษตร เกิดความสามัคคีและมีส่วนร่วม เกิดการตระหนักรับรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ มีกลไกกำกับดูแลและบูรณาการในการปฏิบัติ คือ คณะทำงานระดับจังหวัด คณะทำงานระดับอำเภอ และตั้งชมรมคนริมน้ำ ตามดำริของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำจัดผักตบชวา โดยให้อำเภอร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน อปท.ภาคเอกชน ประชาชน ร่วมจัดตั้งชมรมในรูปแบบประชารัฐ โดยมีหน้าที่หลักคือการร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูดูแลรักษาแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำ ให้เป็นไปด้วยความสวยงาม ปราศจากผักตบชวาและวัชพืช
นอกจากนี้ ต้องเฝ้าระวังการบุกรุกหรือต่อเติมสิ่งปลูกสร้างในคลองสาธารณะ บูรณาการจัดกิจกรรมกำจัดผักตบชวาและการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนที่อยู่ริมน้ำรับรู้ถึงผลเสียของผักตบชวา การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ เช่น ปุ๋ยจากผักตบชวา ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีการตั้งชมรมคนริมน้ำแล้ว 1,075 ชมรม 16,259 คน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ คือการคมนาคมสัญจรสะดวกขึ้น สามารถพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำได้ตามเป้าหมาย ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว การเกษตร เกิดความสามัคคีและมีส่วนร่วม เกิดการตระหนักรับรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม