บรรยากาศการไว้อาลัยและกราบสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันนี้ (4 มิ.ย.) ซึ่งดำเนินมาเป็นวันที่ 214 ตลอดทั้งวันยังคงมีประชาชนจากทั่วสารทิศทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมากราบสักการะพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
น.ส.ปฐมาภรณ์ สุกใส ครูภาษาไทย โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เดินทางมาสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นครั้งแรก พร้อมกับเพื่อนครูอีกสองคน น.ส.เอื้อพร โพธิ์ไทร และ น.ส.วรารัศ ช่วยบุญส่ง เผยว่า วันนี้เป็นวันหยุดจึงนัดกับเพื่อนครูมาสักการะพระบรมศพ ด้วยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 70 ปีแห่งการครองราชย์ ทรงมีโครงการพระราชดำริมากมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร แต่ทรงไม่ละเลยชาวกรุงเทพฯ ทรงมีโครงการสร้างสะพานแก้ปัญหารถติดและแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีการคมนาคมที่สะดวกขึ้น
สำหรับตัวเองแล้วมีในหลวง ร.9 เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายเรื่อง โดยความพอเพียง รู้จักกินรู้จักใช้ ถือเป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้ง่ายแล้วเห็นผลจริง
ด้านนายชัย วิมุตตินันท์ วัย 64 ปี เดินทางมาพร้อมกับภรรยา นางศิริพร วัย 57 ปี และลูกชาย นายลือคำ อายุ 29 ปี จากบ้านพักย่านสาทร กล่าวว่า มากราบสักการะพระบรมศพเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้เวลาต่อแถวประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ต่างจากครั้งแรกเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วที่ต้องต่อแถวนานถึง 9 ชั่วโมง เมื่อได้ขึ้นไปกราบพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ ได้ตั้งจิตบอกพระองค์ท่านว่าจะเป็นลูกที่ดีของพ่อตลอดไป
"ตอนพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ไม่เคยมีโอกาสชื่นชมพระบารมีใกล้ๆ เลยสักครั้ง แต่ก็ประทับใจในสิ่งที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อคนไทยมาตลอด 70 ปี ประทับใจจนไม่สามารถพรรณาออกมาเป็นคำพูดได้ทั้งหมด อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นกำลังใจให้ด้วย อย่างตัวผมเองเวลาที่ทำอะไรแล้วรู้สึกเหนื่อย พอคิดถึงสิ่งที่พระองค์ท่านทำ เราจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง" หัวหน้าครอบครัววิมุตตานนท์ กล่าว
ด้านนางศิริพร กล่าวเสริมว่า ตัวเองได้รับพระราชทานปริญญาจากพระหัตถ์ในหลวง ร.9 ตอนที่จบการศึกษาจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2526 ซึ่งครั้งนั้นเป็นครั้งที่ได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดที่สุด รู้สึกปลื้มจนยากจะบรรยายได้ ทั้งนี้ ตัวเองยังได้นำคำสอนของพระองค์ท่านมาปรับใช้กับตัวเองและสอนลูกชาย โดยเน้นในเรื่องความสมถะ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ และพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
น.ส.ปฐมาภรณ์ สุกใส ครูภาษาไทย โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เดินทางมาสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นครั้งแรก พร้อมกับเพื่อนครูอีกสองคน น.ส.เอื้อพร โพธิ์ไทร และ น.ส.วรารัศ ช่วยบุญส่ง เผยว่า วันนี้เป็นวันหยุดจึงนัดกับเพื่อนครูมาสักการะพระบรมศพ ด้วยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ 70 ปีแห่งการครองราชย์ ทรงมีโครงการพระราชดำริมากมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร แต่ทรงไม่ละเลยชาวกรุงเทพฯ ทรงมีโครงการสร้างสะพานแก้ปัญหารถติดและแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม ทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีการคมนาคมที่สะดวกขึ้น
สำหรับตัวเองแล้วมีในหลวง ร.9 เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายเรื่อง โดยความพอเพียง รู้จักกินรู้จักใช้ ถือเป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้ง่ายแล้วเห็นผลจริง
ด้านนายชัย วิมุตตินันท์ วัย 64 ปี เดินทางมาพร้อมกับภรรยา นางศิริพร วัย 57 ปี และลูกชาย นายลือคำ อายุ 29 ปี จากบ้านพักย่านสาทร กล่าวว่า มากราบสักการะพระบรมศพเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งใช้เวลาต่อแถวประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ต่างจากครั้งแรกเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วที่ต้องต่อแถวนานถึง 9 ชั่วโมง เมื่อได้ขึ้นไปกราบพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ ได้ตั้งจิตบอกพระองค์ท่านว่าจะเป็นลูกที่ดีของพ่อตลอดไป
"ตอนพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ไม่เคยมีโอกาสชื่นชมพระบารมีใกล้ๆ เลยสักครั้ง แต่ก็ประทับใจในสิ่งที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อคนไทยมาตลอด 70 ปี ประทับใจจนไม่สามารถพรรณาออกมาเป็นคำพูดได้ทั้งหมด อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นกำลังใจให้ด้วย อย่างตัวผมเองเวลาที่ทำอะไรแล้วรู้สึกเหนื่อย พอคิดถึงสิ่งที่พระองค์ท่านทำ เราจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง" หัวหน้าครอบครัววิมุตตานนท์ กล่าว
ด้านนางศิริพร กล่าวเสริมว่า ตัวเองได้รับพระราชทานปริญญาจากพระหัตถ์ในหลวง ร.9 ตอนที่จบการศึกษาจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2526 ซึ่งครั้งนั้นเป็นครั้งที่ได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดที่สุด รู้สึกปลื้มจนยากจะบรรยายได้ ทั้งนี้ ตัวเองยังได้นำคำสอนของพระองค์ท่านมาปรับใช้กับตัวเองและสอนลูกชาย โดยเน้นในเรื่องความสมถะ ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ และพยายามทำตัวให้มีประโยชน์ต่อสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้