สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวน 1,223 คน ต่อกรณีเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร 3 จุด ทั้งหน้ากองสลากกินแบ่งรัฐบาล หน้าโรงละครแห่งชาติ และล่าสุดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยประชาชนร้อยละ 83.73 เห็นว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจ ไร้จิตสำนึก ท้าทายกฎหมายบ้านเมือง ร้อยละ 81.44 ระบุ อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยเร็ว ร้อยละ 78.74 อยากรู้ข้อเท็จจริง และเหตุจูงใจในการก่อเหตุ ร้อยละ 72.28 รู้สึกเกรงกลัว เกรงว่าจะได้รับอันตราย ต้องระมัดระวังมากขึ้น และร้อยละ 55.68 ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ส่วนสาเหตุที่เกิดการวางระเบิดนั้น ประชาชนร้อยละ 78.00 เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ ต้องการให้เป็นข่าวครึกโครม ร้อยละ 67.13 เชื่อว่ามาจากความขัดแย้ง อำนาจ และผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ร้อยละ 66.48 เชื่อว่ามีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 55.27 มองว่าเป็นการท้าทาย หวังให้บ้านเมืองปั่นป่วน วุ่นวาย ขณะที่ร้อยละ 48.49 คิดว่าต้องการข่มขู่หรือส่งสัญญาณเตือนถึงอะไรบางอย่าง
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุระเบิดเช่นนี้อีก ประชาชนร้อยละ 74.16 ระบุ ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล ร้อยละ 71.38 ระบุ ต้องเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ตามจุดเสี่ยงต่างๆ มากขึ้น ร้อยละ 63.53 ระบุ หน่วยข่าวกรองต้องตรวจสอบข่าวให้ละเอียด ทันสถานการณ์ ร้อยละ 58.05 ระบุ เป็นเรื่องที่ยากจะป้องกัน ไม่สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึง และร้อยละ 56.91 ระบุ ต้องเร่งกวาดล้าง สืบหาแหล่งที่มาของอาวุธร้ายแรงที่นำมาใช้ก่อเหตุ
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 56.09 คิดว่าการวางระเบิดมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เพราะสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่นิ่ง มีคลื่นใต้น้ำ การเมืองไทยยังมีความขัดแย้งแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และมีหลายประเด็นที่น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่องการเมือง มีเพียงร้อยละ 9.56 ที่เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เพราะอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งส่วนตัวหรือเรื่องอื่น ทำไปเพื่อต้องการท้าทายกฎหมายบ้านเมือง และมองว่าสถานการณ์ทางการเมืองมักถูกดึงมาเกี่ยวข้องเสมอ ขณะที่ร้อยละ 34.35 ระบุว่าไม่แน่ใจ ควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน อาจมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่มากกว่านี้ และยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ระเบิด
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 47.02 ไม่แน่ใจว่าการวางระเบิดจะเกี่ยวข้องกับการครบรอบ 3 ปีของ คสช.หรือไม่ เพราะต้องรอดูผลการสืบสวนและหลักฐานประกอบคดีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่ และจะรอติดตามข่าวสารต่อไป ขณะที่ร้อยละ 36.65 เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งครบรอบ 3 ปีของ คสช.พอดี สถานที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ของทหาร ขณะที่มีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ คสช. แต่ก็มีประชาชนร้อยละ 16.33 ที่เชื่อว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยคิดว่าอาจเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่หวังดี หรือเกิดความคึกคะนอง อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย
ส่วนเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่นั้น ประชาชนร้อยละ 39.53 ระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ของรัฐบาล การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ และมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ขณะที่ประชาชนร้อยละ 31.91 เชื่อว่าจะมีผลกระทบ โดยการเลือกตั้งอาจเลื่อนออกไป ประชาชนไม่กล้าออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กลัวระเบิด หน่วยเลือกตั้งมีอยู่ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่อาจดูแลไม่ทั่วถึง ขณะที่ร้อยละ 28.56 เชื่อว่าไม่กระทบต่อการเลือกตั้ง เพราะยังมีเวลาในการจัดเตรียมการเลือกตั้งอีกนาน ไม่ควรนำเอาเหตุระเบิดมาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และเชื่อว่ารัฐบาลสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ส่วนสาเหตุที่เกิดการวางระเบิดนั้น ประชาชนร้อยละ 78.00 เชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ ต้องการให้เป็นข่าวครึกโครม ร้อยละ 67.13 เชื่อว่ามาจากความขัดแย้ง อำนาจ และผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ร้อยละ 66.48 เชื่อว่ามีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ร้อยละ 55.27 มองว่าเป็นการท้าทาย หวังให้บ้านเมืองปั่นป่วน วุ่นวาย ขณะที่ร้อยละ 48.49 คิดว่าต้องการข่มขู่หรือส่งสัญญาณเตือนถึงอะไรบางอย่าง
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุระเบิดเช่นนี้อีก ประชาชนร้อยละ 74.16 ระบุ ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล ร้อยละ 71.38 ระบุ ต้องเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ตามจุดเสี่ยงต่างๆ มากขึ้น ร้อยละ 63.53 ระบุ หน่วยข่าวกรองต้องตรวจสอบข่าวให้ละเอียด ทันสถานการณ์ ร้อยละ 58.05 ระบุ เป็นเรื่องที่ยากจะป้องกัน ไม่สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึง และร้อยละ 56.91 ระบุ ต้องเร่งกวาดล้าง สืบหาแหล่งที่มาของอาวุธร้ายแรงที่นำมาใช้ก่อเหตุ
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 56.09 คิดว่าการวางระเบิดมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เพราะสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่นิ่ง มีคลื่นใต้น้ำ การเมืองไทยยังมีความขัดแย้งแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และมีหลายประเด็นที่น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่องการเมือง มีเพียงร้อยละ 9.56 ที่เชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เพราะอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งส่วนตัวหรือเรื่องอื่น ทำไปเพื่อต้องการท้าทายกฎหมายบ้านเมือง และมองว่าสถานการณ์ทางการเมืองมักถูกดึงมาเกี่ยวข้องเสมอ ขณะที่ร้อยละ 34.35 ระบุว่าไม่แน่ใจ ควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน อาจมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่มากกว่านี้ และยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ระเบิด
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 47.02 ไม่แน่ใจว่าการวางระเบิดจะเกี่ยวข้องกับการครบรอบ 3 ปีของ คสช.หรือไม่ เพราะต้องรอดูผลการสืบสวนและหลักฐานประกอบคดีเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่ และจะรอติดตามข่าวสารต่อไป ขณะที่ร้อยละ 36.65 เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งครบรอบ 3 ปีของ คสช.พอดี สถานที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ของทหาร ขณะที่มีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ คสช. แต่ก็มีประชาชนร้อยละ 16.33 ที่เชื่อว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยคิดว่าอาจเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่หวังดี หรือเกิดความคึกคะนอง อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย
ส่วนเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่นั้น ประชาชนร้อยละ 39.53 ระบุว่าไม่แน่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ของรัฐบาล การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ และมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศ ขณะที่ประชาชนร้อยละ 31.91 เชื่อว่าจะมีผลกระทบ โดยการเลือกตั้งอาจเลื่อนออกไป ประชาชนไม่กล้าออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กลัวระเบิด หน่วยเลือกตั้งมีอยู่ทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่อาจดูแลไม่ทั่วถึง ขณะที่ร้อยละ 28.56 เชื่อว่าไม่กระทบต่อการเลือกตั้ง เพราะยังมีเวลาในการจัดเตรียมการเลือกตั้งอีกนาน ไม่ควรนำเอาเหตุระเบิดมาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และเชื่อว่ารัฐบาลสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้