จากการนำเสนอบทความเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยระบุถึงผลกระทบจากร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ต่อโรงเรียนเอกชนในการแบกรับภาระที่ต้องถูกจัดเก็บภาษีในอัตราการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งมีอัตราการชำระภาษีสูงกว่าอัตราเดิมที่ชำระอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จะต้องเสียภาษีสูงกว่าเดิมประมาณ 140 เท่า และถ้าต้องเสียในอัตราที่ลดให้ร้อยละ 90 ก็ยังต้องเสียภาษีสูงกว่าเดิมประมาณ 14 เท่า หรือ 1,400 เปอร์เซ็นต์
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนในเครือคริสตจักร โดยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาในกรณีดังกล่าวให้ผู้แทนกลุ่มดังกล่าวได้รับทราบและเข้าใจไปแล้ว โดยในการหารือร่วมกันได้มีการชี้แจงตัวเลขของการลดหย่อนที่ร้อยละ 90 นั้น ผู้แทนข้างต้นก็พึงพอใจแนวทางการลดหย่อนดังกล่าวโดยไม่ได้มีข้อโต้แย้งอย่างใด ดังนั้น ในกรณีของสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยนั้น กระทรวงการคลังจะได้เชิญหารือในเรื่องดังกล่าวต่อไป สำหรับกรณีตัวอย่างภาระภาษีของโรงเรียนต่างๆ ที่แสดงไว้นั้น จะต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียดว่าถูกต้องตามเงื่อนไขและเกณฑ์ในการคำนวณหรือไม่ เช่น ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ และสำหรับสิ่งปลูกสร้างจะต้องมีการหักค่าเสื่อมราคาเสียก่อน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า จากข้อมูลที่ได้มีการเปรียบเทียบและเผยแพร่ในข่าวข้างต้น โรงเรียนที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงใกล้เคียงกันแต่กลับมีการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแตกต่างน้อยกว่ากันถึงร้อยละ 50 จึงอาจจะมีความผิดพลาดในข้อมูลดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ หากการลดหย่อนค่าภาษีดังกล่าวยังไม่เพียงพอบรรเทาภาษีให้แก่กลุ่มโรงเรียนเอกชน รัฐบาลก็อาจจะพิจารณาใช้แนวทางอื่นในกฎหมายเพื่อบรรเทาภาระภาษีดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ระบุว่า โรงเรียนเอกชนทั่วประเทศจะได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้อย่างมาก เพราะที่ผ่านมามีปัญหาอัตราการเข้าเรียนน้อยลงตามอัตราการเกิดของจำนวนประชากรอยู่แล้ว โดยโรงเรียนเอกชนพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ไปขึ้นค่าเทอม ซึ่งจะเป็นภาระของผู้ปกครอง โรงเรียนที่แบกภาระไม่ไหวอาจต้องปิดตัวเอง โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีราคาประเมินที่ดินในอัตราสูง
ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า รัฐบาลมีเจตนารมณ์ว่า ในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ การกำหนดอัตราภาษีจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ภาระภาษีที่เกิดขึ้นควรจะใกล้เคียงกับที่ได้มีการเสียอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ในกรณีของโรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นกิจการแสวงหากำไรที่ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณะคือการศึกษา จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการพิจารณาลดหย่อนหรือบรรเทาภาษีจากภาครัฐอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบหรือโยนภาระให้แก่ผู้ปกครอง
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนในเครือคริสตจักร โดยได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาในกรณีดังกล่าวให้ผู้แทนกลุ่มดังกล่าวได้รับทราบและเข้าใจไปแล้ว โดยในการหารือร่วมกันได้มีการชี้แจงตัวเลขของการลดหย่อนที่ร้อยละ 90 นั้น ผู้แทนข้างต้นก็พึงพอใจแนวทางการลดหย่อนดังกล่าวโดยไม่ได้มีข้อโต้แย้งอย่างใด ดังนั้น ในกรณีของสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยนั้น กระทรวงการคลังจะได้เชิญหารือในเรื่องดังกล่าวต่อไป สำหรับกรณีตัวอย่างภาระภาษีของโรงเรียนต่างๆ ที่แสดงไว้นั้น จะต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียดว่าถูกต้องตามเงื่อนไขและเกณฑ์ในการคำนวณหรือไม่ เช่น ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ และสำหรับสิ่งปลูกสร้างจะต้องมีการหักค่าเสื่อมราคาเสียก่อน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า จากข้อมูลที่ได้มีการเปรียบเทียบและเผยแพร่ในข่าวข้างต้น โรงเรียนที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงใกล้เคียงกันแต่กลับมีการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแตกต่างน้อยกว่ากันถึงร้อยละ 50 จึงอาจจะมีความผิดพลาดในข้อมูลดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ หากการลดหย่อนค่าภาษีดังกล่าวยังไม่เพียงพอบรรเทาภาษีให้แก่กลุ่มโรงเรียนเอกชน รัฐบาลก็อาจจะพิจารณาใช้แนวทางอื่นในกฎหมายเพื่อบรรเทาภาระภาษีดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ระบุว่า โรงเรียนเอกชนทั่วประเทศจะได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้อย่างมาก เพราะที่ผ่านมามีปัญหาอัตราการเข้าเรียนน้อยลงตามอัตราการเกิดของจำนวนประชากรอยู่แล้ว โดยโรงเรียนเอกชนพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ปัญหาโดยไม่ไปขึ้นค่าเทอม ซึ่งจะเป็นภาระของผู้ปกครอง โรงเรียนที่แบกภาระไม่ไหวอาจต้องปิดตัวเอง โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีราคาประเมินที่ดินในอัตราสูง
ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า รัฐบาลมีเจตนารมณ์ว่า ในการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ การกำหนดอัตราภาษีจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ภาระภาษีที่เกิดขึ้นควรจะใกล้เคียงกับที่ได้มีการเสียอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ในกรณีของโรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นกิจการแสวงหากำไรที่ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณะคือการศึกษา จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการพิจารณาลดหย่อนหรือบรรเทาภาษีจากภาครัฐอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบหรือโยนภาระให้แก่ผู้ปกครอง