ดร.ศราวุฒิ อารีย์ อาจารย์ประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์เหตุการณ์ก่อการร้ายที่มาราวี และจาการ์ตา เกิดจากการสูญเสียพื้นที่ของกลุ่ม IS ในสงครามซีเรีย ทำให้นักรบจำนวนมากเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงมีอุดมการณ์เดียวกับกลุ่ม IS และก่อการร้ายเพื่อต่อต้านรัฐบาลในประเทศนั้นๆด้วยตนเอง โดยพื้นที่ที่มีแนวโน้มในการก่อการร้ายดังกล่าว จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นความขัดแย้ง การแบ่งแยกดินแดน หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวมุสลิม เช่น อาระกัล ในเมียนมาร์ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ หลายกลุ่มอุดมการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีความเห็นต่างกับแนวคิดของ IS, นักรบในภูมิภาคที่ไปร่วมรบในสงครามซีเรียเองก็มีจำนวนน้อยกว่าภูมิภาคอื่น และไม่มีชาวไทย, อีกทั้งการเจรจาเพื่อสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็กำลังเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า ประเทศไทย ไม่มีทางเป็นฐานของกลุ่มก่อการร้าย หรือเป็นเป้าหมายอย่างแน่นอน รวมทั้งเหตุระเบิดในโรงพยาบาลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ไม่มีปัจจัยที่ชี้ถึงความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม IS หรือนักรบผู้มีอุดมการณ์เหมือนกลุ่ม IS แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า การจะป้องกันการก่อการร้ายในยุคปัจจุบันเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารของกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรยกระดับการเฝ้าระวัง เช่น การติดกล้องวงจรปิด และการพิสูจน์ทราบที่มาของเหตุการณ์ความไม่สงบ นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาและทำความเข้าใจกลุ่มก่อการร้ายด้วยปัจจัยภายในภูมิภาค ไม่ควรใช้วิธีศึกษาแบบตะวันตกอย่างที่รัฐบาลใช้ในปัจจุบัน พร้อมทั้งลดการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามการก่อการร้าย และใช้วิธีการเปลี่ยนวิธีคิดและอุดมการณ์ของผู้ที่ฝักใฝ่ใน IS แทน
ส่วนความกังวลที่หลายคนคาดว่า จะเกิดการก่อการร้ายมากขึ้นในเดือนรอมฎอน ดร.ศราวุฒิ เห็นว่าไม่เป็นความจริง เพราะแนวคิดของคนมุสลิม และกลุ่มอุดมการณ์ส่วนใหญ่ในภูมิภาค ไม่นิยมความรุนแรง และเคร่งครัดในศาสนา ดังนั้นหากมีการทำสงครามในช่วงเดือนรอมฎอนจะยิ่งทำให้เกิดการต่อต้านจากคนในพื้นที่มากกว่าความเห็นด้วย จึงคาดว่าการเข้าสู่เดือนรอมฎอนจะทำให้การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบลดลง
อย่างไรก็ตาม ดร.ศราวุฒิ เห็นว่า การจะป้องกันการก่อการร้ายในยุคปัจจุบันเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารของกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรยกระดับการเฝ้าระวัง เช่น การติดกล้องวงจรปิด และการพิสูจน์ทราบที่มาของเหตุการณ์ความไม่สงบ นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาและทำความเข้าใจกลุ่มก่อการร้ายด้วยปัจจัยภายในภูมิภาค ไม่ควรใช้วิธีศึกษาแบบตะวันตกอย่างที่รัฐบาลใช้ในปัจจุบัน พร้อมทั้งลดการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามการก่อการร้าย และใช้วิธีการเปลี่ยนวิธีคิดและอุดมการณ์ของผู้ที่ฝักใฝ่ใน IS แทน
ส่วนความกังวลที่หลายคนคาดว่า จะเกิดการก่อการร้ายมากขึ้นในเดือนรอมฎอน ดร.ศราวุฒิ เห็นว่าไม่เป็นความจริง เพราะแนวคิดของคนมุสลิม และกลุ่มอุดมการณ์ส่วนใหญ่ในภูมิภาค ไม่นิยมความรุนแรง และเคร่งครัดในศาสนา ดังนั้นหากมีการทำสงครามในช่วงเดือนรอมฎอนจะยิ่งทำให้เกิดการต่อต้านจากคนในพื้นที่มากกว่าความเห็นด้วย จึงคาดว่าการเข้าสู่เดือนรอมฎอนจะทำให้การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบลดลง